“กัญชา” จากพืชเสพติด สู่แบรนด์ธุรกิจทำเงิน

“กัญชา” จากพืชเสพติด สู่แบรนด์ธุรกิจทำเงิน

และแล้ว สายเขียว ก็ได้เฮลั่น!! แม้จะยังเฮได้ไม่สุดเสียงก็ตาม แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี สำหรับการปลดล็อกกัญชา และ กัญชง ให้พ้นจากพืชและยาเสพติดให้โทษ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และดูแลสุขภาพ
 

หลังจากต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ประกาศปลดล็อกกัญชง-กัญชา โดยให้ปลูกเชิงพาณิชย์ (สำหรับผู้ที่จะปลูกจะต้องลงทะเบียนผ่าน App.ปลูกกัญ) และภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ อีกมากมาย


รวมถึงยังให้ ‘ไฟเขียว’ สำหรับใช้ในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน และทำให้เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยเอดส์ ฯลฯ ได้อีกด้วย

สำหรับในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไชส์ในเมืองไทย ก็คึกคักมาก ๆ เช่นกัน (จริง ๆ คึกคักมาสักพักแล้ว) เกี่ยวกับการปลดล็อกกัญชาดังกล่าว ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจทุกภาคส่วนทั้งรายเล็กรายใหญ่ต่างสบโอกาสมองเห็นคุณค่าของพืชกัญชง-กัญชา นำมาเพิ่มมูลค่าให้กับ Chain ธุรกิจของตนเอง อาทิ การแปรรูป การสกัด และเพิ่มมูลค่าเป็นวัตถุดิบ, ส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่มนานาชนิด เพื่อสอดรับกับกระแสและสร้างจุดเด่น กระตุ้นยอดขาย และเป็นที่จดจำต่อฐานลูกค้าให้เข้าถึงมากยิ่งขึ้น
 

หากจะยกตัวอย่าง แฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มในปัจจุบัน ที่มีส่วนผสมหรือวัตถุดิบของพืชกัญชาอยู่ด้วย ได้แก่

HAPPY กัญ น้ำสมุนไพรชงสดๆ และเครื่องดื่มสกัดใบกัญชาHAPPY กัญ น้ำสมุนไพรชงสดๆ และเครื่องดื่มสกัดใบกัญชา
ข้อมูลแฟรนไชส์ >>
กระท่อม ชายันต์ แฟรนไชส์เครื่องดื่มที่ส่วนผสมของกระท่อมและกัญชากระท่อม ชายันต์ แฟรนไชส์เครื่องดื่มที่ส่วนผสมของกระท่อมและกัญชา
ข้อมูลแฟรนไชส์ >>
Kin Ku Mi กินกูมิ กินกัญไหม แฟรนไชส์เครื่องดื่มสกัดและแปรรูปจากใบกัญชาKin Ku Mi กินกูมิ กินกัญไหม แฟรนไชส์เครื่องดื่มสกัดและแปรรูปจากใบกัญชา
ข้อมูลแฟรนไชส์ >>
อาร์ชา แฟรนไชส์ชานมไข่มุกเบิร์นไฟ พร้อมทั้งเครื่องดื่มกัญชาอาร์ชา แฟรนไชส์ชานมไข่มุกเบิร์นไฟ แฟรนไชส์ชานมไข่มุกเบิร์นไฟ พร้อมทั้งเครื่องดื่มกัญชา
ข้อมูลแฟรนไชส์ >>
ราดหน้ากัญเอง ราดหน้าโบราณแบรนด์แรกที่ผสมใบกัญชาราดหน้ากัญเอง ราดหน้าโบราณแบรนด์แรกที่ผสมใบกัญชา
ข้อมูลแฟรนไชส์ >>
Klab Tani แฟรนไชส์กลับตานี โรตีชาชักกัญชาเจ้าแรกในประเทศไทยKlab Tani แฟรนไชส์กลับตานี โรตีชาชักกัญชาเจ้าแรกในประเทศไทย
ข้อมูลแฟรนไชส์ >>
ทั้งนี้ แม้จะมีการปลดล็อกไปแล้ว แต่ว่า ความน่ากลัวของกัญชา-กัญชง ถึงอย่างไรทุกคนก็ไม่ควรมองข้าม ควรศึกษาทำความเข้าใจในการนำมาใช้ประโยชน์หรือนำมาบริโภคให้เหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัย มิเช่นนั้น จะส่งผลกระทบต่อสมอง ระบบประสาท ระบบหัวใจ และร่างกาย หรือที่เรียกกันว่า “เมากัญชา”
 

โดยในแต่ละส่วนของพืชกัญชาที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ ซึ่งเหมาะสมที่จะนำไปแปรรูป สกัด ทำอาหารและเครื่องดื่ม สรุปได้ดังนี้

  • ใบกัญชา: เหมาะสมนำไปปรุงรสของน้ำซุป เช่น ต้ม แกง ตุ๋น
  • ใบอ่อนกัญชา: เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก น้ำบูดู, หั่นใส่ในข้าวยำ ใส่แกงส้ม, แกงกะทิ, แกงมัสมั่น และเมนูผัด
  • ยอดกัญชา: ใส่ผัดเผ็ด แกงเผ็ด (เหมือนใบกะเพรา, ใบโหระพา)
  • รากและกิ่งก้านกัญชา: นำไปเป็นส่วนผสมทำน้ำซุปได้
 

ปลดล็อก “กัญชา” รู้รักษา กิน-ใช้อย่างเข้าใจ&ปลอดภัย

และจากที่มีข่าวว่า มีผู้บริโภคพืชกัญชา ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากที่เป็นข่าวคราวไปเมื่อ 1-2 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้หลาย ๆ คนกังวลว่า แม้จะปลดล็อก แต่จะบริโภคกัญชาอย่างไรให้ปลอดภัย
กัญชา กัญชง สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม

เราจึงขอสรุปวิธีการใช้งานพืชกัญชา สำหรับบุคคลทั่วไปและกลุ่มผู้ป่วย มาไว้ดังนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์เบื้องต้นสำหรับทุกคน รู้รักษา กิน-ใช้อย่างเข้าใจและปลอดภัย

 

การใช้กัญชาเพื่อบำบัด/บรรเทา สำหรับภาคประชาชน

  • จำหน่ายและใช้ได้เฉพาะผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปเท่านั้น (เว้นแต่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์แล้วแต่กรณีไป)
  • ใช้บำบัดอาการนอนไม่หลับ
  • ใช้บำบัดอาการเบื่ออาหาร
  • ใช้บำบัดอาการปวดเมื่อย
  • ใช้บำบัดอาการทางผิวหนัง
 

ห้ามใช้!! กัญชาสำหรับภาคประชาชน

  • เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  • คนที่แพ้กัญชา จะทราบอาการได้หลังจากเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว จะมีอาการง่วงนอนมากกว่าปกติ, ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ, วิงเวียนศีรษะ, คลื่นไส้ อาเจียน จึงไม่ควรบริโภค
  • คนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • มีประวัติความผิดปกติทางจิตเวช
  • สตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน
  • อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
กัญชา กัญชง สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม

ข้อแนะนำการใช้พืชกัญชาเพื่อประกอบอาหาร/เครื่องดื่ม

  • อาหารทอด แนะนำให้ใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสด/เมนู
  • อาหารประเภทผัด แกง ต้ม และผสมในเครื่องดื่ม แนะนำให้ใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสด/เมนู
 

แพ้/เมากัญชา แก้อย่างไร?

  • ดื่มน้ำมาก ๆ หรือกินน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลทราย หากเป็นเบาหวานควรใส่น้ำผึ้งหรือน้ำตาลน้อยลงหน่อย
  • ชงรางจืด ดื่มวันละ 3 เวลา สำหรับอาการโคลงเคลง วิงเวียนศีรษะ จะช่วยให้ดีขึ้นเป็นระยะ ๆ

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ถึงแม้จะมีการปลดล็อกกัญชาให้ใช้อย่างถูกกฎหมายมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่า จะให้ใช้ได้อย่างเสรี เพราะถึงอย่างไร การใช้ในปริมาณที่มากก็ยังมีความอันตรายอยู่ดี (มากหรือน้อยแต่ละคนไม่เหมือนกัน ควรศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและทางสื่อต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนก่อนบริโภค)

หลักสำคัญที่ท่องจำให้ขึ้นใจ คือ หากใช้เพื่อบำบัด หรือเพื่อการแพทย์แล้วล่ะก็.. ปลอดภัย และได้ประโยชน์อย่างสูงสุดแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง: สถาบันกัญชาทางการแพทย์ www.medcannabis.go.th

1,588 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม