ปรับตัวตามสถานการณ์ คลินิกเสริมความงาม เน้นโปร - คอร์ส ระยะสั้น แก้ปมกำลังซื้อที่ลดลง จากพิษโควิด
พิษโควิดทำคลินิกความงาม 3.6 หมื่นล้าน วูบหนัก ชี้ปมเศรษฐกิจ-กำลังซื้อถดถอยทำตลาดซึมยาว-การแข่งขันเดือด จับตารัฐบาลปูพรมฉีดวัคซีน-ควบคุมการแพร่ระบาดได้ ความเชื่อมั่นจะค่อย ๆ ฟื้นตัว ผู้ประกอบการทยอยปรับตัวรับเทรนด์รักษ์สุขภาพ “เอ็นซีซี” เร่งกระหน่ำโปรฯ-ปรับราคา ขยายฐานลูกค้า “เมโกะ คลินิก” ชูความเชี่ยวชาญแพทย์-คุณภาพรักษา-ลงทุนเทคโนโลยีเสริมทัพ ขณะที่ “รมย์รวินท์” งัดคอร์สระยะสั้นรับกำลังซื้อลด “สลิมคอนเซ็ปต์” เพิ่มไลน์โปรดักต์สินค้าสุขภาพรับเทรนด์
เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนที่คลินิกความงามที่มีมูลค่ากว่า 3.6 หมื่นล้านบาท ถูกแช่แข็งจากมาตรการสกัดกั้นการระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อนที่ต่อมาทั้ง ศบค. และที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จะมีมติผ่อนปรนระยะ 2 ให้กลับมาเปิดอีกครั้ง ท่ามกลางการคุมเข้มและการตั้งการ์ดสูง เพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโควิดต่อเนื่อง ประกอบกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง เป็นปัจจัยที่ทำให้คลินิกความงามต้องปรับตัว 360 องศา เพื่อรับมือตลอดเวลา
พิษโควิดทำตลาดซึมยาว
นายแพทย์นพรัตน์ รัตนวราห ผู้อำนวยการคลินิกศัลยกรรมความงาม “นพรัตน์ คอสเมติก คลินิก” (Nopparat Cosmetic Clinic : NCC) หรือเอ็นซีซี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้แม้คลินิกความงามจะมีสัญญาณบวกการฟื้นตัว จากคำสั่ง กทม.ที่ผ่อนปรนมาตรการให้เปิดบริการได้อีกครั้ง และคลินิกความงามหลาย ๆ แห่งได้เริ่มทยอยทำการตลาดออนไลน์ขึ้นมารองรับ ด้วยการลอนช์โปรโมชั่นลด แลก แจก แถม การทำเคสรีวิว ตลอดจนนำเน็ตไอดอลหรือกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์เข้ารับบริการ เพื่อให้เกิดกระแสการบอกต่อและดึงทราฟฟิกลูกค้ากลับมาได้
แต่คลินิกความงามอาจจะไม่กลับมาบูมเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ถึง 3 ระลอก และทำให้ภาพรวมหดตัวลงราว 50% จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความเชื่อมั่นและกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลงต่อเนื่อง
จากนี้ไปความซบเซาของคลินิกความงามน่าจะกินเวลานานหลายเดือน เนื่องจากยอดผู้ป่วยโควิดไม่ลดลง คนยังมีความกังวลด้านสุขภาพและการพบปะผู้คนสูง อย่างไรก็ตาม คาดว่าตลาดจะค่อย ๆ ฟื้นขึ้น หลังเดือนตุลาคมเป็นต้นไป หากมีการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้คนไทยอย่างน้อย 50 ล้านคน และคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเป็นตัวแปรในการช่วยให้เศรษฐกิจในภาพรวมค่อย ๆ ดีขึ้น
“ในระยะ 3 เดือนต่อจากนี้ เราอาจได้เห็นภาพกราฟในอุตสาหกรรมความงามค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้น และปลายปี 2564 จะเริ่มเข้าสู่สภาวะเกือบปกติ ก่อนที่ในต้นปี 2565 อาจจะใกล้เคียงระดับเดิม หรือช่วงก่อนการระบาดในปี 2562 แต่ในภาพรวมถ้าจะกลับไปเติบโตได้ในระดับเดียวกับปี 2562 น่าจะใช้เวลาอีก 1-2 ปี ในการฟื้นตัว ซึ่งข้อดีของตลาดคลินิกความงามคือ จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าหลาย ๆ อุตสาหกรรม เนื่องจากการดูแลร่างกายและภาพลักษณ์ภายนอกให้ดูดีเสมอ เป็นเทรนด์ของผู้บริโภคปัจจุบัน และเป็นกระแสที่จะยังไม่ตกลงง่าย ๆ”
สำหรับนพรัตน์ คอสเมติก คลินิก ขณะนี้ได้ปรับตัวด้วยการหันมาเน้นการประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยในการรักษา ทั้งเครื่องมือที่ทันสมัย การนำพนักงานฉีดวัคซีนป้องกันโควิดมาให้บริการ เพราะจุดสำคัญคือความไม่มั่นใจของผู้บริโภค เพื่อรองรับการฟื้นตัวของตลาดคลินิกความงามในเร็ว ๆ นี้ ตลอดจนการเร่งทำโปรโมชั่นด้วยการปรับระดับราคาให้มีความหลากหลาย เพื่อขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น และในระยะต่อไป หลังการเปิดประเทศ บริษัทเตรียมเจาะตลาดประเทศจีน และตลาดอาเซียน เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่ และยังมีโอกาสอีกมาก
แพทย์หญิงแพรมาลา ฉายาวิจิตรศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวติเพล็กซ์ จำกัด ผู้บริหาร “เมโกะ คลินิก” กล่าวว่า ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด ภาพรวมการแข่งขันยังเข้มข้นต่อเนื่อง เนื่องจากมีความท้าทายหลักจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้คลินิกความงามส่วนใหญ่ยังแข่งขันกันด้านราคา โดยเฉพาะที่เจาะกลุ่มตลาดแมส ดังนั้น ผู้ประกอบการรายย่อยหรือคลินิกรายเล็กที่สายป่านไม่ยาวพอ จึงได้รับผลกระทบหนัก และมีหลายแห่งได้ปิดตัวลง ขณะที่คู่แข่งคลินิกความงามเชนใหญ่ ๆ สามารถปรับตัวได้เมนเทนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โควิดที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้ทิศทางการแพทย์เพื่อความงามเปลี่ยนไป โดยจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้บูรณาการมากขึ้น ทั้งการติดต่อ การนัดคุยให้คำปรึกษาเบื้องต้น ซึ่งมีความสะดวกและปลอดภัยมากกว่า ไม่ต้องเสียเวลาเข้าพบแพทย์หลาย ๆ ครั้ง และคาดว่าในอนาคตอาจปรับตัวดึงเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ใช้พนักงานน้อย เปลี่ยนสเกลให้ลดลง
ขณะเดียวกัน เมโกะ คลินิก จะมีการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความชำนาญมากขึ้น ผ่านการอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพการรักษา และการหาเทคโนโลยีอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ ๆ มา อาทิ การสร้างกล้ามเนื้อโดยไม่ต้องออกกำลังกาย เพื่อยกระดับคลินิกให้มีความเชี่ยวชาญ ชูจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ และในเฟสถัดไป บริษัทมีแผนจะลงทุนเพื่อสร้างโรงพยาบาลศัลยกรรมและความงามโดยเฉพาะ เพื่อให้บริการอื่น ๆ เช่น แอนไทเอจจิ้ง ฉีดวิตามิน ฟิลเลอร์ การปลูกผม ไปจนถึงการทำทันตกรรม คาดจะมีความชัดเจนภายในปีนี้ และจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า
นางขวัญฤทัย ดำรงค์วัฒนโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท รมย์รวินท์ คลินิก จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การอนุญาตให้คลินิกความงามกลับมาเปิดให้บริการครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้ตลาดมีความคึกคักมากขึ้น โดยขณะนี้คลินิกความงามจะเน้นการออกโปรโมชั่นหมุนเวียนเปลี่ยนสลับกันไปในแต่ละช่วง เช่น โปรแกรมยกกระชับลดราคา 50% เป็นต้น พร้อมกับออกคอร์สระยะสั้นมากขึ้น เพื่อรับกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง แต่ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยโควิดที่ผู้บริโภคยังกังวล จึงทำให้คลินิกไม่รับการ walk-in และรับลูกค้าจากการนัดหมายแทน เพื่อคุมปริมาณคนในคลินิกให้ไม่เกิน 20%
นอกจากนี้ เพื่อให้สอดรับกับกระแสของผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น รมย์รวินท์จึงแตกไลน์เสริมด้านสุขภาพมากขึ้น โดยอาจเพิ่มผลิตภัณฑ์ในด้านเอนไทเอจจิ้ง และอาหารเสริมที่ชูจุดเด่นการรักษาสุขภาพองค์รวม ตอบโจทย์เรื่องการรักษาสุขภาพเชิงป้องกัน พร้อมกับจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ของรมย์รวินท์ทางออนไลน์ เพื่อเสริมรายได้ในหลายช่องทาง
เป็นไปในทิศทางเดียวกับ นางสาวปุณณภา เตชะโรจน์กุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สลิมคอนเช็ปต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของธุรกิจสุขภาพและความงาม สลิมคอนเซ็ปต์ (SlimConcept) และมาริซ่า คลินิก (Mariza Clinic) กล่าวว่า ตั้งแต่ปลายปี 2563 ผู้บริโภคได้หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และต้องการสินค้าตัวช่วยด้านการรักษาสุขภาพต่าง ๆ สลิมคอนเซ็ปต์จึงได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เอ็กซ์ตร้าเซลลูไลท์ รับเทรนด์การดูแลตนเองของผู้บริโภค และมีแผนจะลอนช์สินค้าอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาอีกในอนาคต
รวมทั้งมุ่งเน้นบริการสุขภาพมากขึ้น โดยเพิ่มโฟกัสมาริซ่า คลินิก ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ทุ่มงบฯ 50 ล้านบาท รีแบรนด์ Mariza Clinic เป็น Mariza Wellness Clinic รุกธุรกิจดูแลสุขภาพองค์รวม สาขาแรก ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มวัยรุ่นตอนปลายที่ต้องการดูแลตัวเอง ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง รวมถึงวัยผู้ใหญ่ ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป พร้อมเปิดตัวแบรนด์แอมบาสซาเดอร์คนแรก “หมาก-ปริญ”
🙇ที่มาข้อมูลและรูปภาพ : https://www.prachachat.net/marketing/news-695624
เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนที่คลินิกความงามที่มีมูลค่ากว่า 3.6 หมื่นล้านบาท ถูกแช่แข็งจากมาตรการสกัดกั้นการระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อนที่ต่อมาทั้ง ศบค. และที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จะมีมติผ่อนปรนระยะ 2 ให้กลับมาเปิดอีกครั้ง ท่ามกลางการคุมเข้มและการตั้งการ์ดสูง เพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโควิดต่อเนื่อง ประกอบกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง เป็นปัจจัยที่ทำให้คลินิกความงามต้องปรับตัว 360 องศา เพื่อรับมือตลอดเวลา
พิษโควิดทำตลาดซึมยาว
นายแพทย์นพรัตน์ รัตนวราห ผู้อำนวยการคลินิกศัลยกรรมความงาม “นพรัตน์ คอสเมติก คลินิก” (Nopparat Cosmetic Clinic : NCC) หรือเอ็นซีซี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้แม้คลินิกความงามจะมีสัญญาณบวกการฟื้นตัว จากคำสั่ง กทม.ที่ผ่อนปรนมาตรการให้เปิดบริการได้อีกครั้ง และคลินิกความงามหลาย ๆ แห่งได้เริ่มทยอยทำการตลาดออนไลน์ขึ้นมารองรับ ด้วยการลอนช์โปรโมชั่นลด แลก แจก แถม การทำเคสรีวิว ตลอดจนนำเน็ตไอดอลหรือกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์เข้ารับบริการ เพื่อให้เกิดกระแสการบอกต่อและดึงทราฟฟิกลูกค้ากลับมาได้
แต่คลินิกความงามอาจจะไม่กลับมาบูมเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ถึง 3 ระลอก และทำให้ภาพรวมหดตัวลงราว 50% จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความเชื่อมั่นและกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลงต่อเนื่อง
จากนี้ไปความซบเซาของคลินิกความงามน่าจะกินเวลานานหลายเดือน เนื่องจากยอดผู้ป่วยโควิดไม่ลดลง คนยังมีความกังวลด้านสุขภาพและการพบปะผู้คนสูง อย่างไรก็ตาม คาดว่าตลาดจะค่อย ๆ ฟื้นขึ้น หลังเดือนตุลาคมเป็นต้นไป หากมีการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้คนไทยอย่างน้อย 50 ล้านคน และคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเป็นตัวแปรในการช่วยให้เศรษฐกิจในภาพรวมค่อย ๆ ดีขึ้น
“ในระยะ 3 เดือนต่อจากนี้ เราอาจได้เห็นภาพกราฟในอุตสาหกรรมความงามค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้น และปลายปี 2564 จะเริ่มเข้าสู่สภาวะเกือบปกติ ก่อนที่ในต้นปี 2565 อาจจะใกล้เคียงระดับเดิม หรือช่วงก่อนการระบาดในปี 2562 แต่ในภาพรวมถ้าจะกลับไปเติบโตได้ในระดับเดียวกับปี 2562 น่าจะใช้เวลาอีก 1-2 ปี ในการฟื้นตัว ซึ่งข้อดีของตลาดคลินิกความงามคือ จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าหลาย ๆ อุตสาหกรรม เนื่องจากการดูแลร่างกายและภาพลักษณ์ภายนอกให้ดูดีเสมอ เป็นเทรนด์ของผู้บริโภคปัจจุบัน และเป็นกระแสที่จะยังไม่ตกลงง่าย ๆ”
สำหรับนพรัตน์ คอสเมติก คลินิก ขณะนี้ได้ปรับตัวด้วยการหันมาเน้นการประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยในการรักษา ทั้งเครื่องมือที่ทันสมัย การนำพนักงานฉีดวัคซีนป้องกันโควิดมาให้บริการ เพราะจุดสำคัญคือความไม่มั่นใจของผู้บริโภค เพื่อรองรับการฟื้นตัวของตลาดคลินิกความงามในเร็ว ๆ นี้ ตลอดจนการเร่งทำโปรโมชั่นด้วยการปรับระดับราคาให้มีความหลากหลาย เพื่อขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น และในระยะต่อไป หลังการเปิดประเทศ บริษัทเตรียมเจาะตลาดประเทศจีน และตลาดอาเซียน เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่ และยังมีโอกาสอีกมาก
รายเล็กสายป่านสั้นกระทบหนัก
แพทย์หญิงแพรมาลา ฉายาวิจิตรศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวติเพล็กซ์ จำกัด ผู้บริหาร “เมโกะ คลินิก” กล่าวว่า ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด ภาพรวมการแข่งขันยังเข้มข้นต่อเนื่อง เนื่องจากมีความท้าทายหลักจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้คลินิกความงามส่วนใหญ่ยังแข่งขันกันด้านราคา โดยเฉพาะที่เจาะกลุ่มตลาดแมส ดังนั้น ผู้ประกอบการรายย่อยหรือคลินิกรายเล็กที่สายป่านไม่ยาวพอ จึงได้รับผลกระทบหนัก และมีหลายแห่งได้ปิดตัวลง ขณะที่คู่แข่งคลินิกความงามเชนใหญ่ ๆ สามารถปรับตัวได้เมนเทนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โควิดที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้ทิศทางการแพทย์เพื่อความงามเปลี่ยนไป โดยจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้บูรณาการมากขึ้น ทั้งการติดต่อ การนัดคุยให้คำปรึกษาเบื้องต้น ซึ่งมีความสะดวกและปลอดภัยมากกว่า ไม่ต้องเสียเวลาเข้าพบแพทย์หลาย ๆ ครั้ง และคาดว่าในอนาคตอาจปรับตัวดึงเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ใช้พนักงานน้อย เปลี่ยนสเกลให้ลดลง
ขณะเดียวกัน เมโกะ คลินิก จะมีการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความชำนาญมากขึ้น ผ่านการอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพการรักษา และการหาเทคโนโลยีอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ ๆ มา อาทิ การสร้างกล้ามเนื้อโดยไม่ต้องออกกำลังกาย เพื่อยกระดับคลินิกให้มีความเชี่ยวชาญ ชูจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ และในเฟสถัดไป บริษัทมีแผนจะลงทุนเพื่อสร้างโรงพยาบาลศัลยกรรมและความงามโดยเฉพาะ เพื่อให้บริการอื่น ๆ เช่น แอนไทเอจจิ้ง ฉีดวิตามิน ฟิลเลอร์ การปลูกผม ไปจนถึงการทำทันตกรรม คาดจะมีความชัดเจนภายในปีนี้ และจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า
เน้นคอร์สระยะสั้น-สินค้าสุขภาพ
นางขวัญฤทัย ดำรงค์วัฒนโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท รมย์รวินท์ คลินิก จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การอนุญาตให้คลินิกความงามกลับมาเปิดให้บริการครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้ตลาดมีความคึกคักมากขึ้น โดยขณะนี้คลินิกความงามจะเน้นการออกโปรโมชั่นหมุนเวียนเปลี่ยนสลับกันไปในแต่ละช่วง เช่น โปรแกรมยกกระชับลดราคา 50% เป็นต้น พร้อมกับออกคอร์สระยะสั้นมากขึ้น เพื่อรับกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง แต่ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยโควิดที่ผู้บริโภคยังกังวล จึงทำให้คลินิกไม่รับการ walk-in และรับลูกค้าจากการนัดหมายแทน เพื่อคุมปริมาณคนในคลินิกให้ไม่เกิน 20%
นอกจากนี้ เพื่อให้สอดรับกับกระแสของผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น รมย์รวินท์จึงแตกไลน์เสริมด้านสุขภาพมากขึ้น โดยอาจเพิ่มผลิตภัณฑ์ในด้านเอนไทเอจจิ้ง และอาหารเสริมที่ชูจุดเด่นการรักษาสุขภาพองค์รวม ตอบโจทย์เรื่องการรักษาสุขภาพเชิงป้องกัน พร้อมกับจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ของรมย์รวินท์ทางออนไลน์ เพื่อเสริมรายได้ในหลายช่องทาง
เป็นไปในทิศทางเดียวกับ นางสาวปุณณภา เตชะโรจน์กุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สลิมคอนเช็ปต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของธุรกิจสุขภาพและความงาม สลิมคอนเซ็ปต์ (SlimConcept) และมาริซ่า คลินิก (Mariza Clinic) กล่าวว่า ตั้งแต่ปลายปี 2563 ผู้บริโภคได้หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และต้องการสินค้าตัวช่วยด้านการรักษาสุขภาพต่าง ๆ สลิมคอนเซ็ปต์จึงได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เอ็กซ์ตร้าเซลลูไลท์ รับเทรนด์การดูแลตนเองของผู้บริโภค และมีแผนจะลอนช์สินค้าอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาอีกในอนาคต
รวมทั้งมุ่งเน้นบริการสุขภาพมากขึ้น โดยเพิ่มโฟกัสมาริซ่า คลินิก ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ทุ่มงบฯ 50 ล้านบาท รีแบรนด์ Mariza Clinic เป็น Mariza Wellness Clinic รุกธุรกิจดูแลสุขภาพองค์รวม สาขาแรก ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มวัยรุ่นตอนปลายที่ต้องการดูแลตัวเอง ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง รวมถึงวัยผู้ใหญ่ ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป พร้อมเปิดตัวแบรนด์แอมบาสซาเดอร์คนแรก “หมาก-ปริญ”
🙇ที่มาข้อมูลและรูปภาพ : https://www.prachachat.net/marketing/news-695624
1,904 คน
ข่าวธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
©2024 TaokaeCafe.com