ลุยเดลิเวอรี่ปั้นยอด มิสเตอร์โดนัท – อานตี้แอนส์ ปลุกทุกสารพัดโมเดลการขาย
“ซีอาร์จี” นำทัพแบรนด์เรือธงมิสเตอร์ โดนัท-อานตี้ แอนส์ เปิดขายแฟรนไชส์ปีนี้ พร้อมลุยดีลิเวอรี่ควบเปิดช่องทางการขายใหม่ รุกออมนิแชนเนล, มาร์เก็ตเพลซ, C2C เดินหน้าขยายสาขา โมเดล Delco ปูพรมสถานีบริการน้ำมัน ไทวัสดุ พร้อมจัดโปรโมชั่นดึงลูกค้า ตั้งเป้าสร้างรายได้แตะ 2,900 ล้าน
นายสุชีพ ธรรมาชีพเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่ม bakery & beverage cuisine บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (Central Restaurants Group) หรือซีอาร์จี เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารในปี 2564 ยังมีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แต่เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยเฉพาะตลาดเบเกอรี่ที่มีความคึกคัก จากการฮอตฮิตของขนมครัวซองต์ ทำให้อุตสาหกรรมเบเกอรี่มีการเปลี่ยนแปลงแบบมีนัยสำคัญ จากข้อมูลในปี 2563 ตลาดเบเกอรี่มีมูลค่า 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นขนมปัง 53% ตามด้วยขนมเค้ก 22% และขนมอบ เช่น พาย ครัวซองต์ คุ้กกี้ 25% คาดว่าครัวซองต์ทำให้สัดส่วนขนมอบเพิ่มขึ้น
ส่วนตลาดกาแฟ ☕️แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาพรวมตลาดรวมกาแฟในไทยไม่ได้เติบโต และไม่ได้ลดลง หากให้แยกประเภทตลาดกาแฟที่มีมูลค่ารวม 60,000 ล้านบาทนี้ แบ่งเป็นตลาดกาแฟในบ้าน 33,000 ล้านบาท ที่ได้อานิสงส์จากโควิด-19 เติบโตราว 10% และตลาดกาแฟนอกบ้าน 27,000 ล้านบาท เติบโตลดลง 30-40%
เช่นเดียวกับภาพรวมของ🥨🥯กลุ่มธุรกิจ bakery & beverage cuisine ที่ประกอบด้วย 4 แบรนด์ ได้แก่ มิสเตอร์ โดนัท, อานตี้ แอนส์, โคล สโตน ครีมเมอรี่ และอาริกาโตะ รวมกับ 1 โรงงาน คือ ซีอาร์จี แมนูแฟกเจอริ่ง (CRGM) จากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา ทำให้ยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ที่ประมาณการรายได้ไว้อยู่ที่ 1,200 ล้านบาท จึงปรับแผนให้สอดรับกับสถานการณ์
เริ่มตั้งแต่การบริหารจัดการงบประมาณที่จำกัด เน้นการลงทุนที่จะต้องได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนการปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เพิ่มช่องทางการขาย โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์และดีลิเวอรี่ โดยในช่วงโควิด-19 มียอดการสั่งดีลิเวอรี่ของแบรนด์มิสเตอร์ โดนัท และอานตี้ แอนส์ เติบโตจากก่อนโควิดมากกว่า 300%
นายสุชีพกล่าวต่อว่า กลยุทธ์และแผนงานจากนี้ บริษัทเตรียมกลยุทธ์รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ได้แก่ new format เร่งเพิ่มโมเดลหาลูกค้า ด้วยโจทย์สำคัญ คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ในทุกที่ และให้บริการได้ง่ายสุด เริ่มจากการมองหาพื้นที่ใหม่ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในสถานที่และแหล่งชุมชน และครอบคลุมดีลิเวอรี่และออมนิแชนเนล เพื่อสร้างยอดขายและสอดรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เดินทางหรือออกนอกบ้านน้อยลง จึงมีแผนขยายธุรกิจในรูปแบบ Delco ประมาณ 50-70 สาขา โดยจะเน้นเปิดในสถานีบริการน้ำมันและไทวัสดุ
ขณะที่ Mobile Tuk Tuk เน้นขยายช่องทางการจำหน่ายใหม่ ๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ในแต่ละพื้นที่ในระยะทาง 10-20 กิโลเมตร ควบคู่กับจัดโปรโมชั่นและจัดสินค้าพิเศษ (exclusive product) เฉพาะกลุ่มลูกค้าร่วมกับพาร์ตเนอร์เพื่อกระตุ้นยอดขาย
นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายโมเดลธุรกิจใหม่ ในรูปแบบแฟรนไชส์ โดยแบรนด์มิสเตอร์ โดนัท และอานตี้ แอนส์ มีแผนขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มยอดขาย และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจ โดยตั้งเป้าเปิดขายแฟรนไชส์ได้ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ภายในปี 2564
ขณะเดียวกัน ได้เพิ่มช่องทางขายออนไลน์และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง อาทิ ออมนิแชนเนล ซื้อสินค้า ซื้อดีลต่าง ๆ สั่งอาหารได้ทั้งแบบดีลิเวอรี่และคลิกแอนด์คอลเล็กต์ บน LINE OA และมาร์เก็ตเพลซ เช่น Shopee Mall ปีนี้จึงเตรียมขยายไปยังลาซาด้า, เจดี เซ็นทรัล และ LINE Shopping รวมไปถึงช่องทาง C2C หรือ customer to customer ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ที่น่าสนใจ เพราะเป็นโมเดลธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบผู้บริโภคไปยังผู้บริโภคที่สามารถขยายและต่อยอดการขายในวงกว้างมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์เปิดร้านขายบนแพลตฟอร์มของตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับสิทธิจากซีอาร์จี ทั้งการขายปลีกและการขายส่ง
อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2564 บริษัทตั้งเป้าสร้างรายได้รวม 2,900 ล้านบาท หรือเติบโตกว่า 18-20%
🙇ที่มาข้อมูลและรูปภาพ : https://www.prachachat.net/marketing/news-686480
นายสุชีพ ธรรมาชีพเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่ม bakery & beverage cuisine บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (Central Restaurants Group) หรือซีอาร์จี เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารในปี 2564 ยังมีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แต่เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยเฉพาะตลาดเบเกอรี่ที่มีความคึกคัก จากการฮอตฮิตของขนมครัวซองต์ ทำให้อุตสาหกรรมเบเกอรี่มีการเปลี่ยนแปลงแบบมีนัยสำคัญ จากข้อมูลในปี 2563 ตลาดเบเกอรี่มีมูลค่า 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นขนมปัง 53% ตามด้วยขนมเค้ก 22% และขนมอบ เช่น พาย ครัวซองต์ คุ้กกี้ 25% คาดว่าครัวซองต์ทำให้สัดส่วนขนมอบเพิ่มขึ้น
ส่วนตลาดกาแฟ ☕️แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาพรวมตลาดรวมกาแฟในไทยไม่ได้เติบโต และไม่ได้ลดลง หากให้แยกประเภทตลาดกาแฟที่มีมูลค่ารวม 60,000 ล้านบาทนี้ แบ่งเป็นตลาดกาแฟในบ้าน 33,000 ล้านบาท ที่ได้อานิสงส์จากโควิด-19 เติบโตราว 10% และตลาดกาแฟนอกบ้าน 27,000 ล้านบาท เติบโตลดลง 30-40%
เช่นเดียวกับภาพรวมของ🥨🥯กลุ่มธุรกิจ bakery & beverage cuisine ที่ประกอบด้วย 4 แบรนด์ ได้แก่ มิสเตอร์ โดนัท, อานตี้ แอนส์, โคล สโตน ครีมเมอรี่ และอาริกาโตะ รวมกับ 1 โรงงาน คือ ซีอาร์จี แมนูแฟกเจอริ่ง (CRGM) จากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา ทำให้ยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ที่ประมาณการรายได้ไว้อยู่ที่ 1,200 ล้านบาท จึงปรับแผนให้สอดรับกับสถานการณ์
เริ่มตั้งแต่การบริหารจัดการงบประมาณที่จำกัด เน้นการลงทุนที่จะต้องได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนการปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เพิ่มช่องทางการขาย โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์และดีลิเวอรี่ โดยในช่วงโควิด-19 มียอดการสั่งดีลิเวอรี่ของแบรนด์มิสเตอร์ โดนัท และอานตี้ แอนส์ เติบโตจากก่อนโควิดมากกว่า 300%
นายสุชีพกล่าวต่อว่า กลยุทธ์และแผนงานจากนี้ บริษัทเตรียมกลยุทธ์รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ได้แก่ new format เร่งเพิ่มโมเดลหาลูกค้า ด้วยโจทย์สำคัญ คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ในทุกที่ และให้บริการได้ง่ายสุด เริ่มจากการมองหาพื้นที่ใหม่ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในสถานที่และแหล่งชุมชน และครอบคลุมดีลิเวอรี่และออมนิแชนเนล เพื่อสร้างยอดขายและสอดรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เดินทางหรือออกนอกบ้านน้อยลง จึงมีแผนขยายธุรกิจในรูปแบบ Delco ประมาณ 50-70 สาขา โดยจะเน้นเปิดในสถานีบริการน้ำมันและไทวัสดุ
ขณะที่ Mobile Tuk Tuk เน้นขยายช่องทางการจำหน่ายใหม่ ๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ในแต่ละพื้นที่ในระยะทาง 10-20 กิโลเมตร ควบคู่กับจัดโปรโมชั่นและจัดสินค้าพิเศษ (exclusive product) เฉพาะกลุ่มลูกค้าร่วมกับพาร์ตเนอร์เพื่อกระตุ้นยอดขาย
นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายโมเดลธุรกิจใหม่ ในรูปแบบแฟรนไชส์ โดยแบรนด์มิสเตอร์ โดนัท และอานตี้ แอนส์ มีแผนขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มยอดขาย และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจ โดยตั้งเป้าเปิดขายแฟรนไชส์ได้ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ภายในปี 2564
ขณะเดียวกัน ได้เพิ่มช่องทางขายออนไลน์และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง อาทิ ออมนิแชนเนล ซื้อสินค้า ซื้อดีลต่าง ๆ สั่งอาหารได้ทั้งแบบดีลิเวอรี่และคลิกแอนด์คอลเล็กต์ บน LINE OA และมาร์เก็ตเพลซ เช่น Shopee Mall ปีนี้จึงเตรียมขยายไปยังลาซาด้า, เจดี เซ็นทรัล และ LINE Shopping รวมไปถึงช่องทาง C2C หรือ customer to customer ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ที่น่าสนใจ เพราะเป็นโมเดลธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบผู้บริโภคไปยังผู้บริโภคที่สามารถขยายและต่อยอดการขายในวงกว้างมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์เปิดร้านขายบนแพลตฟอร์มของตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับสิทธิจากซีอาร์จี ทั้งการขายปลีกและการขายส่ง
อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2564 บริษัทตั้งเป้าสร้างรายได้รวม 2,900 ล้านบาท หรือเติบโตกว่า 18-20%
🙇ที่มาข้อมูลและรูปภาพ : https://www.prachachat.net/marketing/news-686480
2,045 คน
ข่าวธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
©2024 TaokaeCafe.com