จับตา 10 เทรนด์เทคโนโลยี พลิกโฉมธุรกิจ-ชีวิตวิถีใหม่
สวทช.เผย 10 เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจ-ชีวิตวิถีใหม่ เทคโนโลยีอีก 3-5 ปี ‘ยาแก้ความชรา-วัคซีนเพื่อความมั่นคง’ มาแน่
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยถึง 10 เทคโนโลยีที่น่าจับมอง ในงาน THAILAND TECH SHOW 2020 ซึ่งระบุว่า อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจและชีวิตหลังยุคโควิดอีก 3-5 ปีข้างหน้า ในปีนี้ 10 เทคโนโลยี ที่สวทช. เลือกมาเป็นการคาดการณ์เทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบได้อย่างชัดเจน แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะส่งผลกระทบกับชีวิตและธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเริ่มจากเทคโนโลยีใกล้ตัวและเข้ากับสถานการณ์ที่สุด
1.วัคซีนโควิด 19 (COVID-19 Vaccine)
ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด19 หลายประเทศมีการจัดการกับการระบาดของโรค เพื่อให้อยู่กับสถานการณ์โควิดแบบในปัจจุบันได้ ซึ่งประเทศไทยก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ที่ถือเป็นงานเร่งด่วน แม้ขณะนี้จะยังไม่มีวัคซีนที่ผ่านการรับรองที่พร้อมผลิตเชิงพาณิชย์ แต่ก็มีหน่วยงานที่มีความก้าวหน้าในขั้นทดลอง เช่น บริษัท Pfizer และ BioNTech ของสหรัฐอเมริกา แน่นอนว่าจะมีการแข่งขันทางธุรกิจเกิดขึ้น
2. ยาแก้ไขความชรา (Rejuvenating Drug)
ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีแห่งความหวังของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นอกจากจะช่วยให้เรามีชีวิตยืนยาวแล้ว ยังสามารถใช้ชีวิตในช่วงวัยชราได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข ขณะนี้ประเทศไทยก็มียาอายุวัฒนะ REDGEMs หรือมณีแดง เพื่อแก้ไขความชรา อนาคตถ้ามณีแดงผลิตได้จริงในเชิงพาณิชย์ ก็จะนำไปใช้เพื่อการรักษาโรคทางผิวหนัง เช่น แผลเบาหวาน แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลคนชรา และโรคอื่นๆ
3. อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสุขภาพ (Internet of Health Things, IoHT)
ปัจจุบันเริ่มมีการนำ IoT มาใช้งานในด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยเทคโนโลยี 5G ที่จะเกิดขึ้นนั้น สามารถรองรับการทำงานของอุปกรณ์ IoT จำนวนมากๆ ได้พร้อมๆ กัน (massive IoT) ทำให้การติดตามสุขภาพผู้ป่วยผ่านอุปกรณ์สวมใส่ (mobile medical devices) ต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย
4. ชิปสายพันธุ์ใหม่ (Neuromorphic Chip)
นิวโรมอร์ฟิกชิปหรือชิปสายพันธุ์ใหม่ เป็นความพยายามในการพัฒนาชิปคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลได้รวดเร็วเหมือนกับสมองของมนุษย์ ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งมีความซับซ้อนหลายมิติได้พร้อมกัน คาดว่าใน 10 ปีข้างหน้า นิวโรมอร์ฟิกชิปจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ ให้เก่งและสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้หลายด้านมากขึ้น เช่น ด้านการแพทย์ เป็นต้น
5. การสื่อสารด้วยภาพ (Vision Communication)
เมื่อคอมพิวเตอร์มีสมองหรือชิปที่มาจากการเลียนแบบการทำงานของสมองของมนุษย์ ก็ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์มากขึ้น “การสื่อสารด้วยภาพ” เป็นรูปแบบการสื่อสารยุคใหม่ ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ ปัจจุบันเริ่มมีการนำไปใช้งานด้านการสร้างภาพยนตร์ เช่น ในจีนมีการสร้างตัว avatar ผู้ประกาศข่าวเสมือน เป็นต้น
6. ขวดพลาสติกจากพืช (PEF)
ประเทศไทยมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นปีละประมาณ 2 ล้านตัน ในจำนวนนี้สามารถนำไปรีไซเคิลได้เพียง 0.5 ล้านตัน แต่ต่อไปจะมีวัสดุที่เรียกว่า PEF (Polyethylene Furanoate) คาดว่า PEF จะมาแทนที่พลาสติก PET ในอนาคต ทาง สวทช. โดยนาโนเทค กำลังเริ่มศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ และถ่ายทอดสู่อุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกและลดภาวะโลกร้อน
7. การออกแบบโครงสร้างวัสดุชนิดเดียว (Monomaterial Structure Design)
ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการคัดแยกพลาสติก ทำให้สามารถคัดแยกง่าย ไม่ต้องมีขั้นตอนการแยกชั้นฟิล์มออกจากกัน นำมารีไซเคิลได้ทั้งหมดโดยไม่มีของเสียเหลืออยู่ จึงไม่ไปเพิ่มขยะสู่สิ่งแวดล้อม ทาง สวทช. มีการเตรียมความพร้อมเชิงเทคโนโลยีเพื่อทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก
8. วัสดุนาโนคาร์บอนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 to Nanocarbon)
ในปี 2562 ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศได้เพิ่มสูงกว่า 400 ppm ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งในประเทศไทย โดย สวทช. มีศูนย์วิจัยด้านการสังเคราะห์กราฟีนและการผลิตกราฟีนและวัสดุนาโนคาร์บอนจาก CO2 เทคโนโลยีการแปลงก๊าซ CO2 ไปเป็นกราฟีนและท่อนาโนคาร์บอนนี้สามารถนำไปใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซ CO2 ที่ปลดปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิต เกิดเป็นธุรกิจใหม่ที่จะสร้างวัสดุที่มีมูลค่าสูง
9. แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)
มีจุดเด่นคือสามารถเก็บพลังงานได้สูง โดยมีความหนาแน่นพลังงานสูงเทียบเท่ากับแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่มีต้นทุนถูกกว่าเกือบ 3 เท่า และสามารถขนส่งทางอากาศได้ เหมาะสำหรับประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการความปลอดภัยสูงตอบโจทย์ด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะสามารถรีไซเคิลได้
10. กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen)
หลายประเทศกำลังมุ่งพัฒนา green hydrogen ซึ่งสะอาดมาตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ด้วยการเลือกใช้วัตถุดิบจากแหล่งพลังงานสะอาดอย่างแสงอาทิตย์ ลม และใช้กระบวนการอิเล็กโทรไลซิส ซึ่งไม่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าผ่านเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า (เช่น Toyota Mirai) หรือเป็นเซลล์เชื้อเพลิงที่ติดไว้กับบ้านเรือน
ทั้งหมดนี้คือ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ในช่วงวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญของโลก ซึ่งต้องติดตามว่า ประเทศไทยของเราจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีใด ที่จะสามารถกอบกู้ประเทศของให้รอดพ้นจากวิกฤตต่างๆ พร้อมทั้งสร้างโอกาสแก่ธุรกิจ และชีวิตวิถีใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910858
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยถึง 10 เทคโนโลยีที่น่าจับมอง ในงาน THAILAND TECH SHOW 2020 ซึ่งระบุว่า อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจและชีวิตหลังยุคโควิดอีก 3-5 ปีข้างหน้า ในปีนี้ 10 เทคโนโลยี ที่สวทช. เลือกมาเป็นการคาดการณ์เทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบได้อย่างชัดเจน แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะส่งผลกระทบกับชีวิตและธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเริ่มจากเทคโนโลยีใกล้ตัวและเข้ากับสถานการณ์ที่สุด
1.วัคซีนโควิด 19 (COVID-19 Vaccine)
ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด19 หลายประเทศมีการจัดการกับการระบาดของโรค เพื่อให้อยู่กับสถานการณ์โควิดแบบในปัจจุบันได้ ซึ่งประเทศไทยก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ที่ถือเป็นงานเร่งด่วน แม้ขณะนี้จะยังไม่มีวัคซีนที่ผ่านการรับรองที่พร้อมผลิตเชิงพาณิชย์ แต่ก็มีหน่วยงานที่มีความก้าวหน้าในขั้นทดลอง เช่น บริษัท Pfizer และ BioNTech ของสหรัฐอเมริกา แน่นอนว่าจะมีการแข่งขันทางธุรกิจเกิดขึ้น
2. ยาแก้ไขความชรา (Rejuvenating Drug)
ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีแห่งความหวังของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นอกจากจะช่วยให้เรามีชีวิตยืนยาวแล้ว ยังสามารถใช้ชีวิตในช่วงวัยชราได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข ขณะนี้ประเทศไทยก็มียาอายุวัฒนะ REDGEMs หรือมณีแดง เพื่อแก้ไขความชรา อนาคตถ้ามณีแดงผลิตได้จริงในเชิงพาณิชย์ ก็จะนำไปใช้เพื่อการรักษาโรคทางผิวหนัง เช่น แผลเบาหวาน แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลคนชรา และโรคอื่นๆ
3. อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสุขภาพ (Internet of Health Things, IoHT)
ปัจจุบันเริ่มมีการนำ IoT มาใช้งานในด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยเทคโนโลยี 5G ที่จะเกิดขึ้นนั้น สามารถรองรับการทำงานของอุปกรณ์ IoT จำนวนมากๆ ได้พร้อมๆ กัน (massive IoT) ทำให้การติดตามสุขภาพผู้ป่วยผ่านอุปกรณ์สวมใส่ (mobile medical devices) ต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย
4. ชิปสายพันธุ์ใหม่ (Neuromorphic Chip)
นิวโรมอร์ฟิกชิปหรือชิปสายพันธุ์ใหม่ เป็นความพยายามในการพัฒนาชิปคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลได้รวดเร็วเหมือนกับสมองของมนุษย์ ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งมีความซับซ้อนหลายมิติได้พร้อมกัน คาดว่าใน 10 ปีข้างหน้า นิวโรมอร์ฟิกชิปจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ ให้เก่งและสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้หลายด้านมากขึ้น เช่น ด้านการแพทย์ เป็นต้น
5. การสื่อสารด้วยภาพ (Vision Communication)
เมื่อคอมพิวเตอร์มีสมองหรือชิปที่มาจากการเลียนแบบการทำงานของสมองของมนุษย์ ก็ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์มากขึ้น “การสื่อสารด้วยภาพ” เป็นรูปแบบการสื่อสารยุคใหม่ ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ ปัจจุบันเริ่มมีการนำไปใช้งานด้านการสร้างภาพยนตร์ เช่น ในจีนมีการสร้างตัว avatar ผู้ประกาศข่าวเสมือน เป็นต้น
6. ขวดพลาสติกจากพืช (PEF)
ประเทศไทยมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นปีละประมาณ 2 ล้านตัน ในจำนวนนี้สามารถนำไปรีไซเคิลได้เพียง 0.5 ล้านตัน แต่ต่อไปจะมีวัสดุที่เรียกว่า PEF (Polyethylene Furanoate) คาดว่า PEF จะมาแทนที่พลาสติก PET ในอนาคต ทาง สวทช. โดยนาโนเทค กำลังเริ่มศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ และถ่ายทอดสู่อุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกและลดภาวะโลกร้อน
7. การออกแบบโครงสร้างวัสดุชนิดเดียว (Monomaterial Structure Design)
ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการคัดแยกพลาสติก ทำให้สามารถคัดแยกง่าย ไม่ต้องมีขั้นตอนการแยกชั้นฟิล์มออกจากกัน นำมารีไซเคิลได้ทั้งหมดโดยไม่มีของเสียเหลืออยู่ จึงไม่ไปเพิ่มขยะสู่สิ่งแวดล้อม ทาง สวทช. มีการเตรียมความพร้อมเชิงเทคโนโลยีเพื่อทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก
8. วัสดุนาโนคาร์บอนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 to Nanocarbon)
ในปี 2562 ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศได้เพิ่มสูงกว่า 400 ppm ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งในประเทศไทย โดย สวทช. มีศูนย์วิจัยด้านการสังเคราะห์กราฟีนและการผลิตกราฟีนและวัสดุนาโนคาร์บอนจาก CO2 เทคโนโลยีการแปลงก๊าซ CO2 ไปเป็นกราฟีนและท่อนาโนคาร์บอนนี้สามารถนำไปใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซ CO2 ที่ปลดปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิต เกิดเป็นธุรกิจใหม่ที่จะสร้างวัสดุที่มีมูลค่าสูง
9. แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)
มีจุดเด่นคือสามารถเก็บพลังงานได้สูง โดยมีความหนาแน่นพลังงานสูงเทียบเท่ากับแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่มีต้นทุนถูกกว่าเกือบ 3 เท่า และสามารถขนส่งทางอากาศได้ เหมาะสำหรับประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการความปลอดภัยสูงตอบโจทย์ด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะสามารถรีไซเคิลได้
10. กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen)
หลายประเทศกำลังมุ่งพัฒนา green hydrogen ซึ่งสะอาดมาตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ด้วยการเลือกใช้วัตถุดิบจากแหล่งพลังงานสะอาดอย่างแสงอาทิตย์ ลม และใช้กระบวนการอิเล็กโทรไลซิส ซึ่งไม่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าผ่านเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า (เช่น Toyota Mirai) หรือเป็นเซลล์เชื้อเพลิงที่ติดไว้กับบ้านเรือน
ทั้งหมดนี้คือ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ในช่วงวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญของโลก ซึ่งต้องติดตามว่า ประเทศไทยของเราจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีใด ที่จะสามารถกอบกู้ประเทศของให้รอดพ้นจากวิกฤตต่างๆ พร้อมทั้งสร้างโอกาสแก่ธุรกิจ และชีวิตวิถีใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910858
1,449 คน
©2024 TaokaeCafe.com