‘ดีแทค เน็ตทำกิน’ โครงการช่วยเหลือผู้ค้ารายย่อย สู่ธุรกิจออนไลน์
‘ดีแทค เน็ตทำกิน’ โครงการช่วยเหลือผู้ค้ารายย่อยซึ่งคุ้นเคยกับการค้าขายแบบเดิม ๆ ให้เปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจสู่ออนไลน์ สร้างความสำเร็จ – รายได้ – ชื่อเสียง โดยพิสูจน์ว่า ออนไลน์คือโอกาสของทุกคน แม้จะเริ่มต้นจากศูนย์
ทักษะที่โครงการเน็ตทำกินต่อยอดให้กับผู้ค้ารายย่อย จึงถูกให้ความสำคัญทั้งประเด็น Digital Infrastructure และ Digital Literacy โดยผู้เข้าร่วมโครงการเน็ตทำกินจะได้รับการอบรมเพื่อประกอบธุรกิจใน 6 หัวข้อ เช่น
พื้นฐานการตลาดยุคดิจิทัล : ครอบคลุมตั้งแต่เทรนด์การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค กระบวนการตัดสินใจซื้อ และเครื่องมือการทำตลาด
แพลตฟอร์มสำหรับการตลาดออนไลน์ : เรียนรู้แพลตฟอร์มให้เข้ากับสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย
การถ่ายภาพเบื้องต้น : เคล็ดลับการถ่ายภาพสำหรับการตลาดออนไลน์ การจัดวางองค์ประกอบเบื้องต้น เทคนิคการถ่ายภาพอาหารและสินค้า
การสร้างคอนเทนต์และจำหน่ายสินค้า : เพิ่มความน่าสนใจให้สินค้าด้วยกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์เพื่อการสื่อสาร
ปักหมุดธุรกิจติดดาว : ครอบคลุมตั้งแต่การโปรโมทร้านด้วยการปักหมุดบน Google Maps และการใช้ Google Business เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างการรับรู้ เพื่อสร้างตัวตนบนโลกดิจิทัล
คำแนะนำธุรกิจ ปรับปรุงคุณภาพและแพ็กเกจการนำเสนอสินค้า : เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย
นอกจากทักษะเพื่อการประกอบธุรกิจ โครงการเน็ตทำกินจะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการ 100 รายจากทั่วประเทศ เพื่อเข้ารับการอบรมในโครงการฯ จนกว่าจะสามารถประสบความสำเร็จกับธุรกิจออนไลน์ได้ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน ขณะเดียวกัน ดีแทค จะช่วยโปรโมทร้านผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ พร้อมให้สิทธิ์เป็นร้านค้าที่มอบสิทธิพิเศษกับ ดีแทค Reward และกิจกรรมอื่น ๆ
เอาเป็นว่าผู้ค้ารายย่อยที่สนใจ โดย ดีแทค เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทำธุรกิจบนออนไลน์จากทั่วประเทศได้เข้าร่วมโครงการเน็ตทำกินอย่างเท่าเทียมกัน ผ่าน www.dtac.co.th/dtacnetforliving
แต่จุดเริ่มต้นและเส้นทางธุรกิจของ คุณวาสนา กลับเต็มไปด้วยความท้าทายและคำดูถูก โดยเธอเล่าว่า “นอกจากทำนา เราก็เห็นแม่เป็นแม่ค้าขายน้ำพริกตลาดนัดมาตลอด จึงอยากช่วยให้ขายได้มากขึ้น แต่เพราะเรามีอีกหนึ่งอาชีพ คือ ทนายความ เลยเจอคนพูดจาดูถูกบ่อยครั้งว่า ไม่มีอาชีพอื่นให้ทำแล้วเหรอ บางทีก็ถามว่าไม่มีงานว่าความแล้วเหรอถึงต้องมาขายน้ำพริก แต่เราไม่เคยเก็บคำพวกนั้นมาใส่ใจ เพราะรู้ว่าเราได้ช่วยแม่ ช่วยชีวิตคนในชุมชน สร้างรายได้ให้อีกหลายครอบครัว”
จุดเด่นของน้ำพริกบ้านทนาย นอกจากความอร่อยก็คือการตอบโจทย์คนรักสุขภาพ เพราะไม่ใส่น้ำมัน ไม่ใส่สารกันบูด ประกอบกับราคาที่จับต้องได้ ตั้งแต่ 35 – 60 – 80 บาท ยิ่งทำให้ชื่อน้ำพริกบ้านทนายและเมนูขายดีอย่างน้ำพริกปลาย่างแมงดากลายเป็นสินค้าขายดีในท้องถิ่น แต่แม้จะขายดีแต่ละสัปดาห์ก็มีสินค้าเหลือค้างอยู่เสมอ กระทั่งวันหนึ่งได้รู้ข่าวจากเจ้าหน้าที่ในชุมชนว่า ดีแทค จะเข้ามาจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจทำธุรกิจออนไลน์ฟรี จึงสอบถามและขอเข้าร่วมโครงการ ซึ่งได้รับการอบรมตั้งแต่การคิดเชิงธุรกิจ แพ็กเกจจิ้ง โลโก้ และตัดสินใจเปิดเพจน้ำพริกบ้านทนาย โดยหลังจากนั้นราว 1 เดือนก็มียอดขายเพิ่มขึ้นทันที
“จากที่เคยมีสินค้าเหลือค้างขายไม่หมด กลายเป็นเราผลิตไม่ทันออเดอร์ ต้องจ้างแรงงานเพิ่มซึ่งก็คือเพื่อนบ้านและคนในชุมชน ถึงประสบความสำเร็จในการเป็นที่รู้จักแล้ว ก็ต้องเรียนรู้ระบบจัดการต่าง ๆ และการขาย ซึ่งทีม ดีแทค เน็ตทำกิน ก็ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาตลอด จนตอนนี้ออเดอร์มากขึ้นหลายเท่าตัว จากที่เคยขายน้ำพริกสัปดาห์ละ 100 กิโลกรัม ก็กลายเป็น 700 กิโลกรัม แถมขยายสู่สวนผักปลอดสารพิษปลูกเองเพื่อให้มีวัตถุดิบที่สด สะอาด ปลอดภัย ไว้ใช้ เพิ่มจากที่รับซื้อผลผลิตชาวบ้านในชุมชนอยู่แล้ว หรือแม้แต่การต่อยอดธุรกิจสู่ร้านกาแฟ เพื่อรองรับลูกค้าที่เดินทางมารับน้ำพริก คนที่มาพูดคุยธุรกิจซึ่งอยากให้เราทำน้ำพริกส่งให้เขาไปขายเป็นแบรนด์ของตัวเอง กลายเป็นโอกาสของเราและเป็นรายได้เสริมของผู้ที่สนใจ เป็นเรื่องที่เราไม่คิดมาก่อนว่าจะทำได้มากขนาดนี้”
🙇ที่มาข้อมูลและรูปภาพ : https://www.marketingoops.com/exclusive/interview-exclusive/dtac-net-for-living/
ถอดรหัสต้นแบบ CSR กับคอนเซปต์ ‘สอนถึงที่ เรียนฟรีถึงบ้าน’
ประเด็นของ Digital Inclusion หรือ การสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัล เป็นปัญหาที่องค์กรสหประชาชาติเรียกร้องให้ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างจริงจัง การสร้างความสำเร็จในเรื่องนี้จำเป็นต้องใช้ทีมงานที่มีความพร้อมสูง ทั้งเชิงเทคนิค ทักษะการถ่ายทอดความรู้ หรือแม้แต่ความอดทน พร้อมรับฟังและช่วยเหลือผู้คนโดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งทักษะที่คนต้นแบบทางเทคโนโลยีควรรู้ ควรมี ในสถานการณ์เช่นนี้ โชคที่ดี ดีแทค มีทีมงานเตรียมพร้อมตั้งแต่ 7 ปีที่ผ่านมา โดยดำเนินงานในชื่อ ‘เน็ตอาสา’ เดินทางให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วประเทศไทย ด้วยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีโดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ต และทำงานด้วยแนวคิด ‘สอนถึงที่ เรียนฟรีถึงบ้าน’ กระทั่งต่อยอดโครงการสู่เน็ตทำกิน เพื่อช่วยเหลือผู้ค้ารายย่อยให้มีโอกาสแจ้งเกิดธุรกิจและเติบโตบนโลกออนไลน์ในปัจจุบันเพราะความสำเร็จยุคดิจิทัล ต้องมีทั้ง ‘Digital Infrastructure – Digital Literacy’
ทักษะที่โครงการเน็ตทำกินต่อยอดให้กับผู้ค้ารายย่อย จึงถูกให้ความสำคัญทั้งประเด็น Digital Infrastructure และ Digital Literacy โดยผู้เข้าร่วมโครงการเน็ตทำกินจะได้รับการอบรมเพื่อประกอบธุรกิจใน 6 หัวข้อ เช่น
พื้นฐานการตลาดยุคดิจิทัล : ครอบคลุมตั้งแต่เทรนด์การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค กระบวนการตัดสินใจซื้อ และเครื่องมือการทำตลาด
แพลตฟอร์มสำหรับการตลาดออนไลน์ : เรียนรู้แพลตฟอร์มให้เข้ากับสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย
การถ่ายภาพเบื้องต้น : เคล็ดลับการถ่ายภาพสำหรับการตลาดออนไลน์ การจัดวางองค์ประกอบเบื้องต้น เทคนิคการถ่ายภาพอาหารและสินค้า
การสร้างคอนเทนต์และจำหน่ายสินค้า : เพิ่มความน่าสนใจให้สินค้าด้วยกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์เพื่อการสื่อสาร
ปักหมุดธุรกิจติดดาว : ครอบคลุมตั้งแต่การโปรโมทร้านด้วยการปักหมุดบน Google Maps และการใช้ Google Business เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างการรับรู้ เพื่อสร้างตัวตนบนโลกดิจิทัล
คำแนะนำธุรกิจ ปรับปรุงคุณภาพและแพ็กเกจการนำเสนอสินค้า : เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย
นอกจากทักษะเพื่อการประกอบธุรกิจ โครงการเน็ตทำกินจะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการ 100 รายจากทั่วประเทศ เพื่อเข้ารับการอบรมในโครงการฯ จนกว่าจะสามารถประสบความสำเร็จกับธุรกิจออนไลน์ได้ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน ขณะเดียวกัน ดีแทค จะช่วยโปรโมทร้านผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ พร้อมให้สิทธิ์เป็นร้านค้าที่มอบสิทธิพิเศษกับ ดีแทค Reward และกิจกรรมอื่น ๆ
เอาเป็นว่าผู้ค้ารายย่อยที่สนใจ โดย ดีแทค เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทำธุรกิจบนออนไลน์จากทั่วประเทศได้เข้าร่วมโครงการเน็ตทำกินอย่างเท่าเทียมกัน ผ่าน www.dtac.co.th/dtacnetforliving
น้ำพริกฝีมือชาวบ้าน…เตรียมโกอินเตอร์! กับยอดขาย 700 กิโลกรัม/สัปดาห์
คุณวาสนา ปิ่นนาค เจ้าของธุรกิจ ‘น้ำพริกบ้านทนาย’ เป็นหนึ่งต้นแบบความสำเร็จจากโครงการเน็ตทำกิน ที่เราอยากถ่ายทอดเรื่องราวให้ทุกท่านได้รู้จัก เผื่อจะเกิดแรงผลักดันหรือเป็นกำลังใจในการสร้างความสำเร็จจากธุรกิจออนไลน์แต่จุดเริ่มต้นและเส้นทางธุรกิจของ คุณวาสนา กลับเต็มไปด้วยความท้าทายและคำดูถูก โดยเธอเล่าว่า “นอกจากทำนา เราก็เห็นแม่เป็นแม่ค้าขายน้ำพริกตลาดนัดมาตลอด จึงอยากช่วยให้ขายได้มากขึ้น แต่เพราะเรามีอีกหนึ่งอาชีพ คือ ทนายความ เลยเจอคนพูดจาดูถูกบ่อยครั้งว่า ไม่มีอาชีพอื่นให้ทำแล้วเหรอ บางทีก็ถามว่าไม่มีงานว่าความแล้วเหรอถึงต้องมาขายน้ำพริก แต่เราไม่เคยเก็บคำพวกนั้นมาใส่ใจ เพราะรู้ว่าเราได้ช่วยแม่ ช่วยชีวิตคนในชุมชน สร้างรายได้ให้อีกหลายครอบครัว”
จุดเด่นของน้ำพริกบ้านทนาย นอกจากความอร่อยก็คือการตอบโจทย์คนรักสุขภาพ เพราะไม่ใส่น้ำมัน ไม่ใส่สารกันบูด ประกอบกับราคาที่จับต้องได้ ตั้งแต่ 35 – 60 – 80 บาท ยิ่งทำให้ชื่อน้ำพริกบ้านทนายและเมนูขายดีอย่างน้ำพริกปลาย่างแมงดากลายเป็นสินค้าขายดีในท้องถิ่น แต่แม้จะขายดีแต่ละสัปดาห์ก็มีสินค้าเหลือค้างอยู่เสมอ กระทั่งวันหนึ่งได้รู้ข่าวจากเจ้าหน้าที่ในชุมชนว่า ดีแทค จะเข้ามาจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจทำธุรกิจออนไลน์ฟรี จึงสอบถามและขอเข้าร่วมโครงการ ซึ่งได้รับการอบรมตั้งแต่การคิดเชิงธุรกิจ แพ็กเกจจิ้ง โลโก้ และตัดสินใจเปิดเพจน้ำพริกบ้านทนาย โดยหลังจากนั้นราว 1 เดือนก็มียอดขายเพิ่มขึ้นทันที
“จากที่เคยมีสินค้าเหลือค้างขายไม่หมด กลายเป็นเราผลิตไม่ทันออเดอร์ ต้องจ้างแรงงานเพิ่มซึ่งก็คือเพื่อนบ้านและคนในชุมชน ถึงประสบความสำเร็จในการเป็นที่รู้จักแล้ว ก็ต้องเรียนรู้ระบบจัดการต่าง ๆ และการขาย ซึ่งทีม ดีแทค เน็ตทำกิน ก็ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาตลอด จนตอนนี้ออเดอร์มากขึ้นหลายเท่าตัว จากที่เคยขายน้ำพริกสัปดาห์ละ 100 กิโลกรัม ก็กลายเป็น 700 กิโลกรัม แถมขยายสู่สวนผักปลอดสารพิษปลูกเองเพื่อให้มีวัตถุดิบที่สด สะอาด ปลอดภัย ไว้ใช้ เพิ่มจากที่รับซื้อผลผลิตชาวบ้านในชุมชนอยู่แล้ว หรือแม้แต่การต่อยอดธุรกิจสู่ร้านกาแฟ เพื่อรองรับลูกค้าที่เดินทางมารับน้ำพริก คนที่มาพูดคุยธุรกิจซึ่งอยากให้เราทำน้ำพริกส่งให้เขาไปขายเป็นแบรนด์ของตัวเอง กลายเป็นโอกาสของเราและเป็นรายได้เสริมของผู้ที่สนใจ เป็นเรื่องที่เราไม่คิดมาก่อนว่าจะทำได้มากขนาดนี้”
🙇ที่มาข้อมูลและรูปภาพ : https://www.marketingoops.com/exclusive/interview-exclusive/dtac-net-for-living/
1,999 คน
ข่าวธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
©2024 TaokaeCafe.com