แนวทาง 'รีสตาร์ทธุรกิจ' รับโควิด- 19 ระลอกใหม่ปี 64

19 ม.ค. 2564 11:43:56
แนวทาง 'รีสตาร์ทธุรกิจ' รับโควิด- 19 ระลอกใหม่ปี 64
เมื่อต้นปี 63 ไวรัสโควิด-19 เข้ามาได้ทำลายห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมจนถึงขั้น “Lock Down” ประเทศ และ “Shut Down” ร้านค้า ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า พื้นที่ให้เช่าทั่วประเทศ ส่งผลให้ต้อง “รีสตาร์ทธุรกิจ" เพื่อปรับตัวและรับมือสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่อีกครั้ง กับ 6 แนวทาง ดังนี้
 

Lean Process
ผู้บริหารต้องพิจารณาลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ “สภาพคล่อง” คือ เส้นเลือด! วิเคราะห์กระบวนการตามแนวทางของ ระบบ Lean อย่างเข้มข้น รัดเข็มขัดด้วยการรีดไขมันหรือความสูญเสีย (Waste) พนักงานทุกคนต้องตั้งคำถามว่า...มีการใช้ทรัพยากรใดอยู่บ้างที่ไม่ได้นำ “คุณค่า” ไปสู่ลูกค้า
 
Lean Organization
ลดขนาดองค์กรให้เล็กลง ปรับโครงสร้างควบรวมธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น และลดจำนวนแรงงานในสถานประกอบการเป็นการเดินทางของธุรกิจวิถีใหม่ ทั้งภัยคุกคามการจ้างงาน จากการเร่งตัวของเทคโนโลยีก้าวหน้าในรูปแบบต่างๆ ที่เป็น “Disruptive Technology” จะเข้ามาแทนที่การใช้แรงงานมนุษย์ เช่น AI, Robots, Smartphone, Internet of things, Automation ฯลฯ
 
Hourly Wage Employ
การจ้างงานเป็นรายชั่วโมง! ธุรกิจค้าปลีกสินค้าและธุรกิจค้าปลีกบริการอย่างร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นธุรกิจที่มีช่วงเวลาที่ลูกค้ามารับบริการเป็นช่วงๆ เช่น ช่วง 7 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า จากนั้นลูกค้าก็จะเบาบาง และมาแน่นอีกครั้งช่วง 11.30-13.30 น. และจะว่างจนถึงเย็นก็จะพีคอีกช่วง 18.00-20.00 น. ดังนั้น การจ้างงานเป็นรายชั่วโมงจึงทำให้เกิดการยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ ซึ่งค่อนข้างเป็นไปได้ที่กระทรวงแรงงานจะประกาศการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงในเร็วๆ นี้
 
หยุดขยายสาขา
ธุรกิจร้านอาหารหันมาใช้บริการ Cloud kitchen นอกจากการลงทุนโรงครัวจะไม่มี ค่าใช้จ่ายเรื่องพนักงานก็ยังลดลง เพราะไม่ต้องมีพนักงานในส่วน Front-house เหมือนร้านอาหารปกติอีกต่อไป มีเพียงพนักงานประกอบอาหารฝั่ง Back-house
 
เพิ่มทักษะแบบ Multi Skill
หมดยุคเก่งด้านเดียว! ความถนัดเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางรอดของคนทำงานในยุคนี้อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ หัวหน้างาน หรือ เด็กจบใหม่ ก็ต้องพัฒนาตัวเองไปสู่ทักษะที่หลากหลายหรือ Multi Skill กันทั้งนั้น พนักงานให้บริการหน้าร้าน ก็ต้องทำงานด้านแคชเชียร์ได้ เป็นเชฟในครัวได้ การเป็นเชฟก็คงไม่มีการแยก ต้องทำได้ทั้งอาหารไทย จีน ญี่ปุ่น และอินเตอร์
 
การลดสินค้าคงคลัง
เป็นอีกทิศทางสำคัญ ควรตัดใจสะสางสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และสินทรัพย์อื่นที่ไม่จำเป็น จากนั้นตั้งเป้าหมายในการลดสต็อกทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ ตั้งแต่วัตถุดิบ งานระหว่างกระบวนการ จนถึง สินค้าสำเร็จรูปก่อนส่งมอบลูกค้า กระชับความร่วมมือกับผู้ส่งมอบ ทบทวนนโยบายการสั่งซื้อตามความต้องการตลาดที่แท้จริง เพื่อลดการเก็บวัตถุดิบ ยืดระยะเวลา Credit ที่ทำให้ “ห่วงโซ่อุปทาน” ยังรอดไปด้วยกันได้
 


🙇ที่มาข้อมูล :  https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/915519
 
803 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม