ส่องแนวโน้มปี 2564 ที่ SMEs ต้องเผชิญ พร้อมวิธีรับมือ !!

8 ธ.ค. 2563 13:46:19
ส่องแนวโน้มปี 2564 ที่ SMEs ต้องเผชิญ พร้อมวิธีรับมือ !!
ในปี 2564 จะยังคงเป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบขยายวงกว้างต่อเศรษฐกิจ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยธุรกิจต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า แม้สถานการณ์อาจจะดีกว่าปี 63 แต่ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์
 
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) คาดว่าในปี 2563 รายได้ที่พึ่งตลาดต่างประเทศจะสูญเสียไป 2.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะสูญเสีย 1.6 ล้านล้านบาท (-83% YOY) และการส่งออกสินค้าจะสูญเสีย 6 แสนล้านบาท (-10.1% YOY)
 
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ความต้องการของตลาดภายในประเทศภายหลังจากคลายล็อกดาวน์ ณ สิ้นไตรมาส 2/2563 จะพบว่ามีสัญญาณตัวชี้ที่ดีขึ้นตามลำดับ พิจารณาจากการบริโภคสินค้าภายในประเทศที่กำลังปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ เมื่อสถานการณ์ในประเทศเริ่มบรรเทาลง
ส่องแนวโน้มปี 2564 ที่ SMEs ต้องเผชิญ พร้อมวิธีรับมือ !!

มาดูแนวโน้มธุรกิจ SMEs จะต้องเผชิญคืออะไร และควรปรับตัวอย่างไร ในปี 2564

 
1. SMEs ต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด

กับการรับมือสถานการณ์โควิด-19 ต่อไปในปีหน้า ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าในสถานการณ์โลกที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ยังคงเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ประชากรทั่วโลกต่างกำลังฝากความหวังไว้กับวัคซีน ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และเรียนรู้ใช้แพลตฟอร์มและเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าของตนเอง ถือว่าเป็นช่องทางการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วและถูกกลุ่มเป้าหมาย

 
2. เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาล
รัฐบาลจะยังคงต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อประคองให้ผ่านพ้นสถานการณ์ดังกล่าว และสนับสนุนภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตดั่งเดิม ในปี 2564 จะเป็นอีกปีที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องติดตามและพิจารณาใช้สิทธิประโยชน์จากนโยบายต่าง ๆ หรือเปลี่ยนให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ เพื่อพยุงสถานการณ์ธุรกิจให้เติบโตได้

 
3. ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายของธุรกิจ
การเงินของภาคธุรกิจ SMEs จะยังคงไม่แข็งแรงเท่ากับช่วงก่อนการระบาด จากการลดลงของยอดขายและการเผชิญกับปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ปัจจัยหลักในการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs หลัก ๆ คือ การลดต้นทุนและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตหรือการให้บริการ จะเป็นโจทย์สำคัญในการรักษาสุขภาพทางการเงินของธุรกิจ

 
4 ปรับเปลี่ยนสินค้าให้แตกต่าง แข่งกับรายใหญ่
ธุรกิจรายใหญ่จะหันมาทำการตลาดภายในประเทศและดำเนินธุรกิจแข่งขันกับ SMEs มากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs จึงต้องปรับเปลี่ยนสินค้าให้แตกต่าง มีการเลือกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองโดยเจาะตลาดกลุ่ม niche market และให้บริการแบบ personalized มากขึ้น
 


ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-557529
 
2,249 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม