สร้างธุรกิจจากกัญชา ควรรู้อะไรบ้าง ?
การนำส่วนประกอบของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติดมาใช้ประโยชน์นั้น ผู้ประกอบการให้ความสนใจกันมาก เพราะหลาย ๆ คนมองเห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจจากกัญชา🌿
🌿กัญชา คือ สารชนิดหนึ่ง เมื่อเอาเข้าสู่ร่างกายทำให้มีฤทธิ์ที่ทำให้มึนเมาได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ใช้ให้ปลอดภัย ต้องรู้แหล่งที่มา รู้ให้ชัดว่าภายในมีอะไรเป็นส่วนผสมอย่างไรบ้าง ซึ่งขณะนี้อาหารผสมใบกัญชาคนอยากลอง เพราะเป็นของใหม่ในประเทศ
กัญชามีทั้งคุณและโทษ ตัวกัญชายังถือเป็นสารเสพติดที่เมื่อเสพไปแล้วส่งผลกระทบต่อพัฒนาการสมองของเด็กแน่นอน ส่งผลต่อสุขภาพของผู้เสพบางคนแน่นอนเป็นเรื่องจริง แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อดีในเรื่องของสาร CBD ในกัญชาที่สามารถทำให้เกิดเรื่องดี ๆ มากมาย
สำหรับการนำส่วนประกอบของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด ที่สามารถมาใช้ได้นั้น มีตั้งแต่ 🍃ใบ ราก ลำต้น เมล็ด โดยวัดตั้งแต่ช่อดอกลงมาคืบนึง ทุกส่วนตรงนั้น สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด แต่ทั้งหมดทั้งมวล ผู้ประกอบการจะต้องทราบว่าจะนำกัญชาไปใช้ทำอะไร? และต้องใช้ในสัดส่วนเท่าไหร่?
เช่น การนำไปทำอาหารต้องทราบว่า กัญชา ถ้าผ่านความร้อน🔥 แล้วจะให้สารอะไร สิ่งที่องค์การอาหารและยา กลัวที่สุด คือ เมื่อนำกัญชาสดมาผ่านความร้อนให้สาร THC ซึ่งทำให้เกิดอาการเมาได้ถ้ามีปริมาณมาก ๆ แต่ถ้ากินสดจะให้สาร THCA ไม่ทำให้เมา และถ้ากินต่อเนื่องนาน ๆ ทำให้เกิดอาการหลอนคลาดกลัวได้
ในส่วนของผู้ปลูกกัญชา จะต้องทราบว่า กัญชานั้นสามารถดูดซับสารปนเปื้อนได้ไวมาก ถ้าปลูกในพื้นที่มีสารเคมี หรือสารปนเปื้อน กัญชาเหล่านั้น ก็จะนำมาใช้ประโยชน์ หรือ จำหน่ายไม่ได้เลย ถ้าผู้ซื้อตรวจพบสารปนเปื้อนในกัญชา ก็จะไม่ซื้อเลย ทำให้ขาดทุนได้เหมือนกันถ้าขายไม่ได้
ในส่วนของการขึ้น📋ทะเบียนผลิตภัณฑ์จากกัญชา ผู้ประกอบการอาจจะต้องเจอขั้นตอนที่ยุ่งยากในช่วงนี้ เพราะทางอย. ยังไม่มีประสบการณ์ ดังนั้น กลุ่มที่ อย.น่าจะให้ขึ้นทะเบียนได้ก่อนจะเป็นกลุ่มเวชสำอางที่ใช้ภายนอก เพราะเป็นการใช้ภายนอก
แต่ถ้ากลุ่มเสริมอาหารที่ต้องกิน อาจจะยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนในตอนนี้ หรือในส่วนของการนำไปประกอบการอาหาร ถ้าเป็นการประกอบการอาหารกินกันเองภายในครัวเรือน ก็อาจจะทำได้ แต่ถ้าเป็นร้านอาหาร ซึ่งไม่ได้ขึ้นกับอย.ตรงนี้ สามารถทำจำหน่ายในร้านอาหารได้ แต่ต้องได้กัญชา จากแหล่งปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในส่วนของการนำไปทำอาหาร ถ้าทำจำหน่ายการใส่มากน้อย ทำให้รสชาติออกมาไม่เหมือนกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญ คนที่ปรุงอาหารเขาต้องรู้ว่า นำกัญชาไปปรุงกับอาหารแบบไหน และให้รสชาติแบบไหน ถ้าเขาใส่มากไปและคนกินเขากินเข้าไปแล้วเมา ต่อไปเขาก็ไม่มากินอีก หรือ ใส่จนทำให้รสชาติผิดเพี้ยนไป หรือไม่อร่อย ผู้บริโภคก็ไม่ซื้อกินเช่นกัน
ทั้งนี้ การใส่มากน้อย ร้านอาหารจะต้องรู้เองว่า จะใช้ประโยชน์จากกัญชาไปช่วยชูรส อาหารได้อย่างไร และใส่ขนาดไหนทำให้คนกินไม่เมา และกลับมาซื้ออีก
ทาง อย.แจ้งว่า ประชาชนสามารถใช้🍃ใบกัญชา กัญชงไปประกอบอาหาร เพื่อดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว หรือใช้ตามวิถีภูมิปัญญาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและทำรายงานใด ๆ ส่ง อย. แต่ขอให้ใบมาจากแหล่งที่ถูกกฎหมายเท่านั้น ส่วนการแปรรูปกัญชา กัญชงเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่ายต้องขอเลข อย. ก่อน จึงจะจำหน่ายได้
“ที่สำคัญ ผู้ปรุงอาหารไม่จำเป็นต้องผ่านหลักสูตรอบรมก็สามารถขายเมนูอาหารจากกัญชาในร้านอาหารได้ ”
ทั้งนี้ หลักสูตรอบรมผู้ปรุงอาหารที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ประชาสัมพันธ์ไปก่อนหน้านี้ เป็นหลักสูตรภาคสมัครใจสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกัญชาและการปรุงอาหารจากกัญชา ไม่ใช่หลักสูตรบังคับแต่อย่างใด
📞หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสอบถามที่สายด่วน อย. 1556 กด 3