INTEGRATED MARKETING COMMUNICATION

21 พ.ย. 2565 9:28:39
INTEGRATED MARKETING COMMUNICATION

บทความนี้อยากจะคุยในเรื่องของ IMC กันบ้าง   บทความที่แล้วคุย Gen – X ที่เกิดช่วง พ.ศ. 2508-2522 เป็นคนวัยทำงาน ในบทนี้มีอีก 1 Generation ที่อยากจะมาขยายไปพร้อมกับกลยุทธ์การตลาด IMC ที่นักการตลาดมักจะสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน  จากการทำการตลาดแบบดั้งเดิมไป ที่การทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า มีการศึกษาพฤติกรรมและเก็บข้อมูลจากลูกค้า
 
Generation  Z ที่เกิด พ.ศ. 2540 ขึ้นไป คน Gen-Z เติบโตมากับสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีต่างๆ มีความการใช้มือถือมาตั้งแต่เด็ก ความรู้ด้านเทคโนโลยี คือ พื้นฐานที่ไม่ต้องไปเรียน การพัฒนาและเรียนรู้ ได้เร็ว และมักจะมองโลกในแง่ดี นิสัยติดบ้าน ต่างกับคนรุ่นเรา ที่ชอบออกไปเที่ยวนอกบ้าน  เพราะที่บ้านมีแค่ TV ความรู้ก็ต้องออกไปเรียนเสริมเอา ซึ่งเด็กรุ่นใหม่ๆ ครูของเขาอีกคนก็ Google ไม่รู้อะไรก็ถามและทำตาม ซึ่งในบทนี้จะเอาตัวอย่างของผลงานเด็ก Gen-z ที่โตมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ยังเด็ก พวกเขาก็มั่นใจว่ามีความรู้ความเข้าใจ ในการสื่อสารที่ดีกว่าคนรุ่นเรา ที่คิดก่อนเสมอและใน Facebook เด็กรุ่นนี้จะเล่นน้อยมาก จึงไม่ค่อยเห็นการโพสของเด็กรุ่นนี้เลย

   จึงเป็นที่มาของการออกแบบพฤติกรรมผู้บริโภคให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าและบริการของเรา

การผลิตสื่อ ประกอบด้วย 5 ส่วน ที่สำคัญๆ 
1. ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 
2. ประโยชน์ที่จะได้รับ 
3. สามารถนำไปใช้ได้
4. ไม่จำเป็นต้องทางการ หรือ เนี๊ยบมากนัก  
5. ความประหยัด ทั้งงบประมาณและเวลาให้เหมาะสม 
เราเลือก Case Study ให้กับน้องๆ Gen-z อายุ 19 ที่เรียนมหาลัย ปี 2 ในสาขาผู้ประกอบการ มาสื่อที่จะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการ เพราะเราเริ่มต้นจากการศึกษา CI ของแบรนด์ ที่เราจะไปทำสื่อ Digital Marketing เราจึงมองที่ตัว P ก็ คือ  Product ที่ลุคเป็นญี่ปุ่นที่ ราคาไม่แพง เริ่มต้นที่ 59 บาทและทำเลของร้านอยู่ใกล้กับมหาลัยเอกชนชื่อดังที่มีหอนักศึกษา เราจึงเลือกแนวคิดของน้องในการทำงานครั้งนี้ โดยให้ศึกษาข้อมูลของร้านก่อนไปทำโฆษณา เพราะเราเชื่อว่าเด็กยุคนี้ ที่เติบโตมากับสื่อ Social Media จะต้องบริโภคสื่อที่ตรงกับวัยของเขาเอง และยิ่งรู้ว่าเขาชอบอาหารญี่ปุ่นเกาหลีด้วยแล้ว  เขาจะรู้ว่าร้านไหนที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
 
ซี่งจากการทำงานครั้งนี้ เราส่งน้อง Gen-z อายุ 19 และทีมงานตากล้องที่อายุ 70 ปีที่มากประสบการณ์ ( น่าจะเกิน Gen-B ไปไกลแล้ว ) เพื่อให้ทั้ง 2 Gen ทำงานร่วมกันได้ ทั้งๆ ที่วัยต่างกันมาก แต่การทำงานของเด็ยุคใหม่ที่ต้องถามคุณตาว่าจะวางมุมกล้องแบบไหน  เหมือนกับที่เคยเห็นในโฆษณา การปรับภาพ  ปรับแสงก็ต้องให้คนที่มีประสบการณ์สูง เพราะระบบอนาล็อกสมัยก่อนไม่ได้มีเทคโนโลยีมากมาย แต่ Youtuber สมัยนี้มีเครื่องมือที่ทันสมัยก็สามารถจะทำสื่อออกมาได้ง่าย แต่อาจจะไม่คมเข้ากับคนรุ่นเก่าๆที่เข้าใจมุมกล้อง นี้แค่เรื่องของเทคนิคการถ่ายทำเท่านั้น
และส่วนที่สำคัญ คือ การนำเสนอ ซึ่งน้องเองจะต้องสัมภาษณ์กับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ที่มากประสบการณ์  คือ สิ่งที่น้องจะต้องทำการบ้านในการตั้งคำถามในมุมของ Gen-z ที่ต้องทำงานร่วมกับคน Gen-x ที่เป็นผู้ประกอบการ ซึ่งจะได้ประโยชน์ร่วมกัน Gen-z ก็จะได้เรียนรู้ประสบการณ์และความสำเร็จของพี่ๆ เจ้าของกิจการ โอกาสที่จะได้ทำงานแบบนี้ ซึ่งในห้องเรียนไม่ได้มี  พี่ๆ เองจะเห็นว่าน้องๆ  ก็คือ กลุ่มผู้บริโภคตรงกับกลุ่มเป้าหมายของร้าน จะทำให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันในการทำงาน เพราะการทำสื่อจะตรงกับสิ่งที่น้องบอกเล่าจากการได้ไปสัมผัสร้าน TSUNAMI ที่เป็นร้านแฟรนไชส์สไตส์ข้าวถ้วยญี่ปุ่น ที่เติบโตเร็วมากแค่ 2 ปีในช่วง Covid มีสาขามากขึ้น 290 สาขา อะไร คือ จุดแข็งของร้าน จึงทำให้ร้านข้าวถ้วยฟิวชั่น เติบโตได้เร็วมาก งานนี้พี่เองก็ได้ลงไปดูกิจกรรมครั้งนี้ แค่ดูห่างๆ เพื่อให้น้องๆ ทำงานแบบไม่เขินอาย จึงเอาจุดเด่นของแฟรนไชส์ข้าวถ้วยญี่ปุ่นแบรนด์ TSUNAMI สรุปเป็นข้อๆ ให้กับเถ้าแก่ที่ติดตาม Website ของเถ้าแก่คาเฟ่ ได้ศึกษาและไปปรับกลยุทธ์  ปรับธุรกิจของเราให้เติบโตเหมือนกับร้าน TSUNAMI 
 
เริ่มต้นจากแบรนด์ที่โดดเด่น เน้นราคาที่จับต้องได้ง่าย คือ Key Success ของธุรกิจ และมุ่งเน้นไปที่การตลาดแบบ Online ในช่วงโควิด  จึงทำให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว การบริหารต้นทุนในเรื่องของวัตถุดิบที่ดี ขายในราคาไม่แพง คือ อีก 1 ข้อดีของเมนูที่หลากหลาย ทำให้ลูกค้ารับรู้ว่าคุณภาพเทียบเท่าในห้าง แต่ราคาท้องตลาด ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทางเจ้าของแฟรนไชส์  จึงต้องเร่งในการขยายสาขาเพื่อที่จะสามารถบริหารต้นทุน รวมถึงการพัฒนาสูตต่าง จนมีเมนูที่ตอบโจทย์กับลูกค้าได้หลากหลายเมนู และการใช้กลยุทธ์การขยายแฟรนไชส์  จึงทำให้ผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจร้านอาหารตัดสินใจในการซื้อแฟรนไชส์มากกว่าทำเอง  เพราะต้นทุนสูงกว่าซื้อแฟรนไชส์
 
ในบทความนี้ น่าจะเห็นมุมมองได้ถึง 2 มุม ในฝั่งของผู้บริโภคที่ตรงกลุ่มเป้าหมายทั้งทำเล ที่ต้องเลือกและในมุมของคนที่จะขยายธุรกิจในรูปแบบที่ตนเองถนัด อันไหนเราไม่ถนัดก็ไปหาคนที่ถนัดมาร่วมกันทำ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีครับ พบกันในบทต่อไปครับ ติดตาม VTR ที่น้องๆ ผลิตได้ที่ PAGE TSUNAMI  ร้านข้าวถ้วยสไตส์ญี่ปุ่นฟิวชั่น ที่น้องเองจะทำการตัดต่อจากการทำงานครั้งนี้ให้ตรงกับคนรุ่นน้องเขาและน้องทำเองทั้งหมด พวกเราก็ได้แต่ลุ้นผลงานของน้องต่อไป
 

652 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม