FRANCHISE & LICENSE

21 ต.ค. 2565 11:32:04
FRANCHISE & LICENSE

หลายคนลงคุ้นหูกับ คำว่า แฟรนไชส์ กันมาบ้าง แต่ ไลเซนส์ คือ อะไร ก็ล่ะ... ไว้ในฐานที่เข้าใจก่อนครับ ก่อนอื่นขอต้อนรับเข้าเดือนตุลาคมกันก่อน เข้าเดือนที่ 2 ของ Quarter สุดท้ายของ ปี 2022 กันแล้วครับ  ใครที่ยังเมาหมัดโควิด ก็ถึงเวลาเตรียมตัว ในการทำงานของปีหน้ากันได้แล้ว ใครส่วนที่ปรับตัวได้ ก็คงพร้อมที่จะขยับขยายกันแล้วนะครับ ช่วงปลายปี คือ ช่วงที่ต้องสรุปและทบทวนผลงานของปีนี้ เพื่อนำไปปรับปรุงและวางกลยุทธ์ใหม่ๆที่จะใช้ในปีหน้ากัน บทความนี้ เป็นอีก 1 กลยุทธ์ของตัวผู้เขียนเองที่อยู่กับคำว่า Franchise และ License มาเป็นปีที่ 8 แล้ว เริ่มต้น เข้าสู่แวดวงแฟรนไชส์ ตอนเข้าไปเรียนที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อบรมหลักสูตร สร้างธุรกิจแฟรนไชส์  B2B รุ่น 16  และรับวุฒิบัตร วันที่ 21 พ.ค . 2557 ประสบการณ์ ที่ผ่านมาจึงนำมาปรับและนำมาพัฒนาธุรกิจของตัวเองต่อเนื่อง
 
ตั้งแต่การ Re Engineering ก่อนทำการ Re Scale จากรับงานของหน่วยงานรัฐ มารับงานของ SMEs เพื่อให้เกิดความข้องตัวในการบริหารจัดการธุรกิจให้น้อยลงและเอาเวลาไปพัฒนาตัวเองโดย ไป Take Course มากมายจากสถาบันต่างๆ เพื่อเรียนรู้และเข้าสู่สมาคม ชมรม หลากหลายองค์กร จึงทำให้รู้จักกับคำว่า “ FLA “ ก็คือ สมาคม Franchise & License ที่เกริ่นเปิดหัวเรื่องกันในบทความนี้ ได้ศึกษาเรียนรู้กับรุ่นพี่ๆ ที่ทำแฟรนไชส์
 
ทั้งรายเล็กและรายใหญ่มากมายในสมาคม FLA จนวันหนึ่งได้เข้ามาช่วยงานสมาคม ก็อยากที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์ 8 ปีที่ผ่านมาในมุมมองของคนแฟรนไชส์กันบ้าง? ทำไมคนถึงอยากทำ ธุรกิจแฟรนไชส์ จะทำแล้วต้องเริ่มต้นอย่างไร ?
 
ภาพในหัวเรา ธุรกิจแฟรนไชส์  คือ อะไร ก็คงไม่พ้นร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 หรือ ร้านกาแฟชื่อดังมากมายที่เป็นแฟรนไชส์และไม่เป็นแฟรนไชส์  หนึ่งเหตุผล ที่หลายคนสนใจอยากขายแฟรนไชส์  เพราะคิดว่า น่าจะมีคนรู้จักมากขึ้น แบรนด์ของเราจะดังระเบิด ขายได้เงินมากขึ้นกว่า ขยายสาขาได้มากก็จะกำไรมาก และยังสามารถลดต้นทุนในการบริหารจัดการได้ เพราะมีหลายสาขา แต่ลืมไปว่าจะมีปัญหาจะมีมากมายตามมาให้แก้ จนแก้ไม่ไหว เหมือนกับร้านบุฟเฟ่ต์ ที่มีข่าวกันโด่งดัง จนไม่สามารถพัฒนาธุรกิจตัวเองได้
 
จริงแล้วธุรกิจแฟรนไชส์ คือ สูตรสำเร็จร่วมกันระหว่างคนซื้อแฟรนไชส์ ในที่นี้ เราเรียกว่า Franchisee และเราเป็นผู้ขาย เรียกว่า Franchisor จะได้เข้าใจตรงกันเป็นภาพเดียวกันและต้องยิงคำถามกับตัวเองก่อน ว่าทำไมเขาถึงอยากซื้อแฟรนไชส์เรา เพราะอะไร เขามองคนละมุม กับ เรา ที่อยากขายนะครับ คนที่จะซื้อ เพราะเข้าใจว่ามีกำไรมาก และใช้เงินทำงาน อันนี้ก็ผิดหลักของแฟรนไชส์ ต้องทำความเข้าใจใหม่ดีๆ ก่อนว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ เสมือนเป็นหุ้นส่วนกัน แบ่งขอบเขตและหน้าที่กันทำงาน รักษาผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อทำให้ธุรกิจมีกำไร ไม่ใช่คนขายได้อย่างเดียว หรือคนซื้อได้เปรียบคนขาย การออกแบบธุรกิจแฟรนไชส์ จึงต้องเริ่มต้นจาก Out Side In ไม่ใช่ In Side Out  หมายความว่า ธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์ ต้องพิสูจน์ได้ว่าเคยทำสำเร็จมาแล้ว ซึ่งคนที่จะซื้อแฟรนไชส์ สามารถลดระยะเวลาของความสำเร็จได้เร็วขึ้นกว่า ลองถูกลองผิดทำเอง KEY SUCCESS ของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ต้องเป็นธุรกิจที่มีกำไร และสามารถที่จะจัดแบ่งรายได้ ให้กับคนขายแฟรนไชส์ได้ เช่นกัน จึงเป็นที่มาของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะต้องมี 3 อย่างเป็นอย่างน้อย

1. Trademark
2. System
3. Loyalty    
  

 
เราก็ต้อง Re Check ธุรกิจตัวเองก่อนเลย มีครบถ้วนทั้ง 3 อย่างหรือยัง แค่เรื่องเครื่องหมายการค้าก็ยากแล้ว จะต้องเร่งจดการรับรองสิทธิ์เครื่องหมายการค้าจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา จดแล้วต้องรอหลายเดือน บางทีต้องใช้ระยะเวลามากกว่า 1 ปี ก็มี ซึ่งผู้เขียนเอง จดมาแล้ว 3 ชื่อ บางชื่อก็จดไม่ผ่านก็มี และสิ่งที่สำคัญที่สุด จะทำอย่างไรให้คนอยากได้  เพราะมัน คือ เรื่องแบรนด์  เป็นเรื่องหน้าตาของธุรกิจ ไม่ใช่แค่ LOGO ร้านสวยๆ แต่มัน คือ ส่วนประกอบของการสร้างแบรนด์  ในหัวข้อนี้สำคัญมากๆ นะครับ มาลองศึกษาแบรนด์ดังๆ  อย่างร้านกาแฟ Starbuck กาแฟเป็นแค่เนื้อเรื่องของธุรกิจ ไม่ได้บอกว่าอร่อยหรือดีที่สุด แต่ได้มาตรฐานที่สุดของทางแบรนด์ร้าน และราคาก็ไม่ได้ถูกเลย เห็นไหมครับว่า Starbuck เขาขายอะไร ทำไมในเมือง มีติดๆ กันเลย หลายสาขามาก

ทั้งหมด คือ การกำหนด Positioning ของแบรนด์ ในการสื่อสาร Massage ที่แบรนด์พยายามจะบอกอะไรกับเรา และแบรนด์ Starbuck ก็ไม่ได้สื่อสารเรื่องการขายหรือการขยายในรูปแบบแฟรนไชส์ เหมือนกับ Mc Donald หรือ KFC ก็ไม่ได้พูดถึงการขยายแฟรนไชส์เลย แต่เขาหาเจ้าภาพที่พร้อมจะมาบริหารแค่ 1 หรือ 2 รายเท่านั้น ที่จะได้รับสิทธิ์การบริหารสาขา รู้ไหมเพราะอะไร ก็เพราะลดปัญหาของเจ้าของที่ไม่พร้อมจะบริหาร จะต้องคอยมาแก้ปัญหากับหลายๆสาขา จนไม่มีเวลาพัฒนา
 
ที่เล่ามาทั้งหมด เพื่อให้เห็นมุมมองของคนที่อยากจะทำแฟรนไชส์ก่อน ว่าเราตั้งธงจะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ ธุรกิจขายอาชีพ ขายสูตร ขายวิธีการแล้วจบ ต้องเลือกฟันธงกันก่อนดีไหมครับ คิดว่าจะทำแฟรนไชส์ก็ต้องพัฒนาระบบให้นิ่งและพิสูจน์ให้ได้ว่า ธุรกิจเรามีกำไร ซึ่งจะทำให้คนสนใจและอยากได้เป็นเจ้าของแบรนด์ที่มีกำไร
 
อีก  1 เรื่องที่ ยาก คือ เรื่อง Loyalty  ที่จะต้องมีการจ่ายให้กับเจ้าของแบรนด์ ตั้งแต่  Loyalty Fee ที่เป็นเสมือนค่าแรกเข้า ค่าประสบการณ์ของแบรนด์ ซึ่งตามจริงแล้วก็ควรให้กับแบรนด์ไปเถอะครับ ซี่งหลายคนไม่อยากจ่ายในเรื่องนี้ ก็เอาไปหลบมุมกันในค่าอย่างอื่น ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้องนัก และใครที่ไม่อยากจ่าย ก็อยู่ที่เราแล้วครับว่า อยากขายหรือไม่อยากขายคงห้ามความคิดกันไม่ได้  ค่า Loyalty มีอีกหลายประเภท อยากให้ตามอ่านกันที่ เถ้าแก่แมน

ตาม Link ด้านล่างกันครับ https://www.taokaecafe.com/business-knowledge-detail/506
 
เรื่องแฟรนไชส์ จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่คนไทย ส่วนใหญ่มองไม่เห็นคุณค่าของเจ้าของแบรนด์  อยากได้แต่กำไร  ไม่อยากจะเสียเปรียบ สุดท้ายก็ต้องฉีกสัญญาทิ้ง เรื่องแบบนี้มีให้เห็นบ่อยๆ อย่างไรคนคิดจะใช้กลยุทธ์ของแฟรนไชส์ก็ต้องทำให้ทั้งลูกค้าเรา ที่ซื้อแฟรนไชส์ ลูกค้าของลูกค้า ได้รับความพึงพอใจในการไปใช้บริการสาขา  เพราะผู้บริโภค  เวลาตำหนิ ไม่ได้ตำหนิเจ้าของสาขา  แต่เขาตำหนิแบรนด์
 
ซึ่งเมื่อแบรนด์แม่ ได้ผลกระทบก็กระทบกันไม่ใช่แค่อำเภอเท่านั้น กระทบกันทั้งหมด  การจะเลือก Franchisee ก็ต้องเลือกให้ดี เพราะมันอาจจะไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด สัญญาแฟรนไชส์เป็นสัญญาที่จะมาใช้ยุติข้อผิดพลาดทั้งหลาย จึงต้องออกแบบทุกอย่าง ไม่ให้เกิดผลกระทบกับลูกค้ารายอื่นๆ คือ การสร้างธุรกิจอย่างไร ให้ยั้งยืนและแบรนด์จะยาวนานได้เป็น 100 ปี เหมือนกับ Coke ได้อย่างไร??
 

930 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม