Branding Strategy
แบรนด์ คือ อะไรเรารู้จักคำว่าแบรนด์ดิ่งกันอย่างไร บทความต่อจากการตลาด ในบทนี้ อยากจะมาคุยเรื่องของแบรนด์กันบ้าง ตามที่เรารับรู้ รับฟังหรือได้ยินกันมา คำว่า แบรนด์ คือ สรรพนาม และ สรรพนาม คือ การเรียก ชื่อ คำที่ใช้แทน คำนาม เช่นคำว่า ฉัน เรา ดิฉัน กระผม การตั้งชื่อคนอย่างไรให้จดจำ ว่านายคนนี้ ชื่ออะไร ชื่อจริง ชื่อเล่น ในการทำธุรกิจก็เช่นกัน เริ่มต้นตั้งแต่ชื่อองค์กร เรามักจะใช้ Corporate Branding ที่ใช้ในการจดทะเบียนการค้า ยกตัวอย่าง บริษัท เสริมสุข จำกัด ซึ่งเรารู้เลยว่าเป็น บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจร ผลิตเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม อย่างเป๊ปซี่ เป็นต้น แต่ปัจจุบันหลังจากเลิกสัญญากับบริษัทแม่ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แบรนด์เป๊ปซี่ หรือ เจ้าของแฟรนไชส์ จึงต้องเปลี่ยนชื่อ เป็น เอส ซึ่งเป็นชื่อของสินค้า เราเรียกว่า Product Branding เห็นความสำคัญของแบรนด์ไหม ทำไมคนจึงยังคงยึดกับแบรนด์ดั้งเดิม และมี Loyalty กับเป๊บซี่มากกว่าเอส เป็นต้น
การนำชื่อแบรนด์ไปใช้งาน จะแต่ต่างกันออกไป และยังมีแบรนด์ที่เป็นทั้งตัวบุคคล เราเรียกว่า Personal Branding วิธีการสร้างการจดจำแบบง่าย คือ ตัวของผู้ว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนว่าใช้กลยุทธ์ของการสร้าง Personal Branding ที่บอกว่า ทำงาน ทำงาน ทำงาน มาแข่งขันกับแบรนด์องค์กร หรือ แบรนด์พรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็น Corporate Branding ได้อย่างน่าสนใจ ว่า ทำไมคนกรุงเทพ ฯ จึงเลือกคนมากกว่าเลือกพรรค การสร้างแบรนด์ที่แตกต่างกัน แต่มุ่งเป้าหมายผลลัพธ์เดียวกัน ต้องบอกว่าทีมงานผู้ว่าน่าจะศึกษาคู่แข่งอย่างพรรคเก่าแก่ ที่มีอดีตผู้ว่าในนามพรรคประชาธิปัตย์ มีจุดอ่อนตรงไหนกันบ้างและยิ่งพรรคขนาดใหญ่ การทำงานอาจจะช้า แม้ทีมประชาธิปัตย์จะเปลี่ยนตัวพี่เอ้ ที่มีชื่อเสียงลงสนามมาแก้เกมส์ก็ยังไม่สามารถที่จะเอาชนะได้ในการเลือกครั้งนี้ และจึงที่เลือกใช้ LOGO ติดที่เสื้อว่า ทำงาน ทำงาน ทำงาน บวกกับที่ท่านชัชชาติ ก็ได้ลงพื้นที่ต่อเนื่องมากว่า 2 ปี มันสอดคล้องกันทั้งคำโฆษณาและการทำงานที่ตรงใจและการเลือกใช้ สโลแกนในการหาเสียงที่แสนจะเรียบง่ายแค่ 3 คำ คือ ทำงาน ทำงาน และทำงาน ที่สามารถรบชนะคูแข่งเกมส์การเลือกตั้งครั้งนี้แบบม้วนเดียวจบได้จริง ๆ
กลับมาที่เรื่องของธุรกิจเราก็เช่นกัน การทำธุรกิจเราเองก็ต้องศึกษาคู่แข่งของเรา เหมือนกับทีมการตลาดของท่านผู้ว่าชัชชาติ หลังจากที่เราเลือกตลาดที่เราจะลงแข่งขันจาก กลยุทธ์ STP กลยุทธ์ Mass Customization หรือ กลยุทธ์แบบ Blue Ocean แต่บทนี้เราจะพูดถึง กลยุทธ์ของการสร้างแบรนด์ให้คนจดจำจะต้องเริ่มต้นอย่างไร ?
มีโอกาสได้ไปศึกษากับสัมมนาต่างในเรื่องของการสร้างแบรนด์ พอที่จะนำมาสรุปให้มองเห็นมากกว่า คำว่า ชื่อ ก็ คือ วิธีหรือการการสร้าง Brand Model ที่พยายามจะตีกรอบแนวคิดของเราทั้งหมด 5 เรื่องหลัก ๆ ทำให้เราเข้าใจว่า ธุรกิจของเราอยู่จุดไหนของตลาด Brand Positioning คือ คำศัพท์ ที่นักการตลาดชอบตั้งคำถาม เพื่อย้ำเตือนว่าเรา ว่าจุดยืน ของเรา คือ อะไร แรก ๆ ก็ตอบยากและตอบกันแบบยาวจนสับสน
ปรมาจารย์ทางการตลาด อย่าง Philip Kotler ให้คำนิยามของ Brand Positioning ไว้ดังนี้ครับ
“ The act of designing the company’s offering and image to occupy a distinctive place in the mind of the target market”
การออกแบบการนำเสนอของบริษัทและภาพลักษณ์ให้โดดเด่นในใจตลาดเป้าหมาย
ซึ่งเราเองไม่จำเป็นต้องถูกใจกับทุก ๆ กลุ่ม แต่ให้สนใจในกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง อย่าง Brand Positioning ของแบรนด์ พี่อ๊อด คือ ทำน้ำดี น้ำเสีย ไม่ทำเลย ตีความหมาย ให้ชัดเจน ที่มากกว่าธุรกิจน้ำดื่ม คือ ทำแต่เรื่องดี ๆ อะไรที่ไม่จะไม่ทำ จึงมีคนเรียกว่า พี่อ๊อด น้ำดี และ ชื่อของนามสกุลมันมาเองจากการที่ทำงานด้านน้ำมานานและมัน คือ จุดยืนของแบรนด์ที่จะมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ แก้ปัญหาให้กับลูกค้ามากกว่า แค่ต้องการขายสินค้า และปัจจุบันก็ ReBrand จากตัวบุคคลมาทำเป็นแบรนด์องค์กร ชื่อ บริษัท พัฒนาธุรกิจน้ำดื่ม(ประเทศไทย) จำกัด www.pattanathurakijnamduem.org ที่จะสร้างการจดจำจากชื่อตรงๆ ว่าเรื่องน้ำดื่มไว้ใจเรา ตอกย้ำให้คมมากขึ้น เราจึงต้องเข้าใจ หลักของการสร้างแบรนด์ที่ถูกต้องที่ละ STEP BY STEP มาดูว่า 3 หลักในบทนี้มีอะไรกันบ้าง
1. BRAND STRATEGY หลักการสร้างแบรนด์ให้มีครอบคลุม เพื่อไม่ให้หลุดกรอบ เห็นอะไรดีก็จะทำจนคนไม่รู้ว่าเราเก่งด้านไหน จะมาแบ่งแนวทางของการสร้างแบรนด์ ด้วยการกำหนด Grand Purpose ที่เรามีความเชื่อ มีความปรารถนา หรือ ความมุ่งหวัง ที่อยากเห็นแบรนด์ของเราเติบโตอย่างไร บางคนจะเรียกว่า Brand Purpose ก็ได้เหมือนกัน ยิ่งแบรนด์มีความชัดเจนมากเท่าไหร่ ทิศทางของทำงานก็ชัดเจนมากเท่านั้น จุดขาย จุดสัมผัสต่าง ๆ ลูกค้าของเราจะรับรู้ได้เองว่าเราต่างจากคู่แข่งอย่างไร
Brand Identity หรือ อัตลักษณ์ที่บงบอกตัวตนของแบรนด์ ตั้งแต่ ชื่อของแบรนด์, โลโก้, สี, สโลแกน, เอกสาร, โบรชัวร์, แผ่นพับ, ป้ายโฆษณา, นามบัตร, สินค้า, หรือ บริการ การสร้างภาพลักษณ์ ภาพจำ ทั้งหมดจะสร้างให้ลูกค้าจดจำเราได้ บางคน เรียกว่า CI หรือ Corporate Identity เวลาสื่อสารออกไปในสื่อต่าง ๆ ลูกค้าสามารถจะจำภาพเหล่านั้นได้
2. BUSINESS STRATEGY นอกจากกลยุทธ์ของการสร้างแบรนด์ เราก็ต้องมีกลยุทธ์ของการทำธุรกิจด้วย ตั้งแต่การทำ SWOT หาจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคของธุรกิจเรามีอะไรกันบ้าง การกำหนดวิสัยทัศน์และการออกแบบภารกิจที่จะทำวิสัยทัศน์ ให้สำเร็จ การออกแบบ 9 Module ที่สำคัญ ๆ ของ Business Model Canvas
3. SEGMATATION & TARGETING เรื่องของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะได้วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์คู่แข่งขัน เห็นไหมครับองค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ต้องทำหลายอย่างมากวันนี้ เอาแค่น้ำย่อย 3 หัวข้อหลัก ๆ มาให้เห็นหลักการของกลยุทธ์ของการสร้างแบรนด์ และจุดสำคัญต่อให้ดี และดังขนาดไหน ถ้าสื่อสารผิดกลุ่ม สินค้านั้นก็ไม่สามารถที่จะถูกซื้อ เพราะกลุ่มนั้นไม่มีกำลัง หรือไม่ได้ใช้ ความสำคัญของการเลือกกลุ่มจึงสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ติดตามเรื่องแบรนด์กันต่อในบทถัดไป