4 เหตุผลใหญ่ ที่ทำให้ Start-Up ไทยไปไม่ถึงฝัน

27 ก.ย. 2564 15:57:54
4 เหตุผลใหญ่ ที่ทำให้ Start-Up ไทยไปไม่ถึงฝัน

Startup เป็นทางเรื่องหนึ่งสำหรับคนที่มีไอเดียในการเปิดธุรกิจสักธุรกิจหนึ่ง ที่อาจจะมาจากความชอบความสนใจส่วนตัว หรือบางคนอาจจะมองถึงโอกาสในอนาคตที่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ทำให้มี Startup มากมายหลายเจ้าก่อตัวขึ้นมา บ้างก็ประสบความสำเร็จในเส้นทาง แต่มีไม่น้อยเลยที่ต้องล้มเหลว และยอมทิ้งสิ่งที่ตัวเองพยายามสร้างมา

 
การทำธุรกิจถือเป็นหนึ่งเรื่องที่มีความยากในหลาย ๆ แง่มุม Startup ก็เช่นกัน ผู้ที่คิดจะทำนั้นต้องมีองค์ความรู้ที่ครบถ้วนในเรื่องนั้น ๆ ที่สำคัญเรื่องเศรษฐกิจ การตลาดคือเรื่องที่ต้องรู้เท่านั้น ธุรกิจถึงมีโอกาสรอดต่อไปในอนาคต นอกเหนือจากนั้นก็คงเป็นเรื่องของเงินทุน และการจัดการที่เป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้ความรู้เลย อาจจะมองได้ว่าการเริ่มทำ Startup นั้นเป็นเรื่องยาก แต่กลับกันการเกิด Startup กับสูงขึ้น แน่นอนว่าคนที่ไม่สามารถทำได้ถึงเป้าที่ตั้งไว้ หรือถอดใจไปมีเยอะกว่า คนที่ทำสำเร็จแน่นอน แล้วสาเหตุหลัก ๆ เกิดจากอะไรที่ทำให้ธุรกิจ Startup ของใครหลายคนไปไม่ถึงฝัน

 
รายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย ประจำปี 2564 ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้สรุป 4 เหตุผล ที่เป็นข้อมูลสำคัญของการดำเนินธุรกิจ Startup ที่ทำให้ Startup ไปไม่ถึงฝัน

 
1. ความพร้อมของกำลังคน (Manpower Readiness) Startup
ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีมากกว่าการพัฒนากำลังคนที่จะมารับมือเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด แถม Startup ก็ยังเป็นอีกหนึ่งประเภทของธุรกิจที่ไม่มีกำลังมากพอจะจ้าง คนที่มีฝีมือในด้านเทคโนโลยีมาดูแลได้สิ่งที่ Startup ควรเริ่มทำตั้งแต่ต้นคือการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม เพื่อเพิ่มกลุ่มบุคคลที่สนใจ และต้องการเข้ามาทำงานในสายนี้จริงๆ ให้มีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือธุรกิจของคุณได้
 

2. แหล่งเงินทุน (Source of Funding) Startup
มักไม่มอง หรือวางแผน แผนการเงิน และแผนการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนในระยะยาว อีกทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่มักจะเลือกลงทุนกับ Startup ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมพอสมควร ทำให้บาง Startup ไม่ได้เงินสนับสนุนจากแหล่งต่าง ๆ เท่าที่ควร เมื่อไม่ได้รับการสนับสนุนที่มากพอ การกู้ธนาคารจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากไม่ต่างกัน 


3. การหากลุ่มลูกค้าและการขยายธุรกิจ (Growth & Scalability)
การขาดประสบการณ์ในการติดต่อกลุ่มลูกค้าในระดับองค์กร ทั้งขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ขาดความรู้ในด้านการตลาด และการต่อยอดไปถึงการทำธุรกิจกับต่างประเทศ ขาดการวางแผนด้านการเงินเพื่อหมุนเวียนในการขยายธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มันจะกลายเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ทำให้ Startup ไปไม่รอด 

 
4. การสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศ (Support from Government & Partners  )
ภาครัฐควรมีนโยบายเพื่อผลักดันให้กลุ่ม Startup ในไทย สามารถก้าวขึ้นไปเป็นผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคอย่างจริงจัง อีกทั้งด้านเงินทุน รวมถึงการสร้างเกณฑ์คุณสมบัติในการรับทุนให้เอื้อมากขึ้น เพราะนี้เป็นปัจจัยที่มาจากภายนอก และยากที่สุดสำหรับการแก้ไข 


สุดท้ายแล้วการที่จะก้าวขึ้นมาเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จแล้วมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะทำได้เลย แต่เพียงแค่คุณมีไอเดีย มีความคิดที่แตกต่าง วันหนึ่งคุณอาจจะเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จก็เป็นได้ เริ่มจากการแก้ไขปัญหาข้างต้นให้ได้สักครึ่งทาง หลังจากนั้นก็ไม่แน่แล้วว่าคุณอาจจะไปถึงฝันก็ได้

 
สำหรับวันนี้ก็หวังว่าคนที่ติดตามมา จะได้ความรู้ไปปรับใช้ไม่มากก็น้อย ขอบคุณที่ติดตามมาถึงตอนนี้นะครับ พบกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีครับ
 

1,410 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม