แฟรนไชส์คืออะไร? เหมาะกับใคร? มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน

27 ส.ค. 2564 9:09:03
แฟรนไชส์คืออะไร? เหมาะกับใคร? มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน

“แฟรนไชส์” คือ การลงทุนอีกรูปแบบที่น่าสนใจ สอดคล้องในสถานการณ์ปัจจุบัน

โดยเฉพาะค่อนข้างเหมาะกับวัยทำงานที่มีเรี่ยวแรง, มีเงินเก็บหรือช่วงชีวิตกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว, มีงานประจำทำอยู่ แต่ก็ต้องการทำเป็นอาชีพเสริม หรือเบื่องานประจำ กำลังจะลาออก และวางแผนจะเริ่มต้นธุรกิจเล็ก ๆ เป็นเจ้านายตัวเอง แต่ไม่อยากลองผิดลองถูกให้เสียเวลา ซึ่งหากใครกำลังคิดเช่นนี้อยู่ แฟรนไชส์ นี่แหละ ตอบโจทย์คุณ

แต่ว่าทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ซึ่งการลงทุนแฟรนไชส์สักแบรนด์ก็เช่นเดียวกัน โดยวันนี้ เถ้าแก่คาเฟ่ มีข้อคิดเพื่อพิจารณาการเลือกลงทุนแฟรนไชส์ให้อยู่รอด และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน มาบอกเล่าให้กับผู้อ่านได้ติดตามกัน โดยเป็นพื้นฐานการวิเคราะห์แฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับคุณหรือไม่? ได้อย่างง่าย ๆ ไปดูกัน
สำรวจเงื่อนไขของแฟรนไชส์

1. สำรวจเงื่อนไขของแฟรนไชส์แบรนด์นั้น และมองกลับมาเปรียบเทียบกับตัวเอง

หมายถึง ให้คุณศึกษาแฟรนไชส์นั้นก่อนว่า เหมาะสมกับคุณหรือไม่ ทั้งในเรื่องความชื่นชอบ ความถนัด งบการลงทุนของคุณ เรื่องเวลาหรือขั้นตอนการบริหารแฟรนไชส์ คุณรับได้ไหม? ที่อาจจะมีขั้นตอนการจัดการที่จุกจิกไปบ้าง หรือต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ

ซึ่งหากคุณพิจารณาแล้วว่า คุณมีความสนใจจริงและสามารถบริหารแฟรนไชส์นั้นได้ ก็ List รายชื่อเอาไว้ แล้วไปดูข้อต่อไปได้เลย
ศึกษาข้อมูลเรื่องแฟรนไชส์พื้นฐาน

2. คุณควรศึกษาและมีความรู้หรือข้อมูลเรื่องแฟรนไชส์พื้นฐานอยู่บ้าง เพราะแฟรนไชส์ไม่ได้เหมือนกันหมด มันมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป

ยกตัวอย่างเช่น บางแฟรนไชส์มีเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Royalty Fee) หรือมีการเก็บค่าส่วนแบ่งยอดขายรายเดือน / รายปี (Marketing Fee) คือ ไม่ใช่ลงทุนครั้งเดียวจบ

โดยเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์ : Franchisee Sor) จะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย เพื่อนำไป R&D แบรนด์ในภาพรวมต่อไป เป็นต้น ซึ่งคุณพร้อมรับได้หรือไม่ ลองถามใจตัวเองดู
รู้จักแฟรนไชส์ที่คุณคิดจะลงทุนให้ดีพอ

3. รู้จักแฟรนไชส์ที่คุณคิดจะลงทุนให้ดีพอแล้วจริงๆ

หมายความว่า คุณต้องศึกษาข้อมูลแฟรนไชส์นั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน เช่น แบรนด์เปิดมาแล้วกี่ปี มีกี่สาขา คู่แข่งมากน้อยแค่ไหน จุดเด่นจุดด้อยของแฟรนไชส์นั้น ๆ, สินค้าและบริการมีมาตรฐานการรับรองต่าง ๆ หรือไม่

หรือดูแล้ว มีฐานลูกค้าที่ต้องการซื้อตลอด ไม่ใช่สินค้าแค่เพียงกระแส เจ้าของแบรนด์ เป็นใคร มีประสบการณ์หรือ Background แวดวงธุรกิจอะไรมาก่อน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และทำให้คุณมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ลงทุนกับแฟรนไชส์นั้นแล้ว จะประสบความสำเร็จและเป็นการลงทุนที่ยั่งยืน
รู้จักเจ้าของแฟรนไชส์

4. รู้จักแฟรนไชส์ซอร์ หรือเจ้าของแบรนด์ให้ดีพอด้วย

โดยต่อจากข้อที่ 3 รู้จักตัวธุรกิจ ก็ต้องทำความรู้จักเจ้าของนั้นด้วย ว่า ทัศนคติ หรือ mind set ตรงกันหรือพอที่จะร่วมลงทุนกันได้หรือไม่

รวมถึงสอบถามให้เคลียร์ก่อนตัดสินใจลงทุนว่า หากเกิดวิกฤตต่าง ๆ เจ้าของแบรนด์หรือแฟรนไชส์ซอร์ จะมีกลยุทธ์หรือแบบแผนในการช่วยดูแล สนับสนุน ประคับประคองสาขาแฟรนไชส์ให้ยืนหยัดอยู่ได้ได้อย่างไรบ้าง

ซึ่งหากสามารถตอบข้อซักถาม หรือ แฟรนไชส์ซอร์ สามารถไขข้อสงสัยให้คุณจนรู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นแล้วนั้น เราก็ขอแนะนำให้คุณไปต่อกับแบรนด์นั้นได้
ดูงบประมาณของคุณก่อนตัดสินใจลงทุนแฟรนไชส์

5. เปิดดูเงินในกระเป๋าของคุณ อีกสักครั้งก่อนตัดสินใจให้แน่วแน่

โดยการลงทุนบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ทุกอย่างคือ เงินเก็บของคุณทุกบาททุกสตางค์ ดังนั้น ถ้าคุณได้ศึกษาตัวของแฟรนไชส์ ระบบการบริหารต่าง ๆ และได้รู้จักประวัติของเจ้าของแบรนด์อย่างเข้าใจแล้ว

สุดท้ายให้กลับมาคำนวณงบประมาณการลงทุนของคุณ โดยต้องเผื่อเงินก้อนสำหรับลงทุนแฟรนไชส์, เงินก้อนที่เป็นทุนหมุนเวียนร้าน (ขั้นต่ำ 6-12 เดือนจึงจะปลอดภัย)

ตัวอย่างเช่น ซื้อของวัตถุดิบเพิ่ม, ค่าเช่าที่, ค่าน้ำค่าไฟ, ค่าพนักงาน (ถ้ามี) และอื่น ๆ รวมไปถึงเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าส่วนแบ่งให้กับเจ้าของแบรนด์ ซึ่งนอกเหนือจากนี้ จึงเป็นกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจ
 

สรุปข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ เป็นเครื่องมือเริ่มต้นที่ดี และเป็นทางลัดสู่การสร้างอาชีพและธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปถึงขนาดใหญ่ แต่ก็ใช่ว่า แฟรนไชส์จะเหมาะสำหรับทุกคน

ซึ่งจริง ๆ แล้ว คุณอาจจะยังไม่ต้องไปศึกษาลงลึกรายละเอียดกับแฟรนไชส์มากนักก็ได้ แต่ให้ย้อนกลับมามองตัวเองก่อนว่า ตัวเราเหมาะกับการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์มากน้อยแค่ไหน หรือควรจะค้นหาตัวเอง ทำอะไรเล็ก ๆ เพื่อให้ต่อยอดเป็นอาชีพหรือให้เกิดรายได้ ลองทำดูก่อนสักระยะ ..หรือถ้ายังคิดไม่ออก ลองอ่าน 5 ข้อข้างต้นนี้ดูอีกครั้ง เพื่อความมั่นใจครับ..

รูปภาพ

แฟรนไชส์คืออะไร? เหมาะกับใคร? มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน
แฟรนไชส์คืออะไร? เหมาะกับใคร? มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน
แฟรนไชส์คืออะไร? เหมาะกับใคร? มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน
แฟรนไชส์คืออะไร? เหมาะกับใคร? มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน
แฟรนไชส์คืออะไร? เหมาะกับใคร? มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน
1,781 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม