แพคเกจ TaokaeCafe
แพคเกจ TaokaeCafe

6 ต้นทุนที่ควรรู้ก่อนเปิดร้านหม่าล่าสายพาน

30 พ.ค. 2567 14:37:40
6 ต้นทุนที่ควรรู้ก่อนเปิดร้านหม่าล่าสายพาน

ธุรกิจร้านหม่าล่าเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยม และน่าสนใจ หลายคนกำลังวางแผนที่จะลงทุนในธุรกิจนี้ วันนี้เถ้าแก่คาเฟ่จึงมีเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับต้นทุนของร้านหม่าล่า โดยเฉพาะร้านหม่าล่าแบบบุฟเฟ่ต์ เพื่อเป็นแนวทางดี ๆ ในการเตรียมพร้อมก่อนเปิดร้านมาฝากกัน 


1. ต้นทุนเรื่องวัตถุดิบ 

ต้นทุนเรื่องวัตถุดิบในการเปิดร้านหม่าล่า จะแตกต่างจากร้านชาบูทั่วไป ตรงต้นทุนในการทำน้ำซุปหม่าล่า เพราะน้ำซุปหม่าล่าประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ หลายชนิด ซึ่งส่วนมากเป็นวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ผงหม่าล่า ซึ่งทำให้ต้นทุนของร้านค้าเพิ่มสูงกว่าปกติ เจ้าของธุรกิจจึงต้องคำนวณปริมาณวัตถุดิบให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ของเหลือ (Waste) และเป็นการลดการแบกรับต้นทุนมากจนเกินไป 



2. ต้นทุนการทำการตลาด
 
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่เพิ่งเปิดร้าน การแบ่งงบไว้สำหรับการทำการตลาดนั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะร้านที่เพิ่งเปิดใหม่ จำเป็นต้องสร้างการรับรู้ให้ลูกค้าเห็น โดยเฉพาะการทำการตลาดผ่าน Social Media ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำ Content หรือการยิง Ads เพื่อให้โพสต์เข้าถึงลูกค้า 

นอกจากนั้นสำหรับบางร้านที่ให้ความสำคัญกับการทำการตลาดแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ก็อาจจะต้องลงทุนกับการจ้าง Influencer ในการช่วยโปรโมต ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในการสนับสนุนค่าอาหาร หรือค่าจ้างในการโปรโมตอีกด้วย ทั้งหมดนี้ก็ถือเป็นต้นทุนแฝงในการทำธุรกิจ 



3. ต้นทุนในการเสียภาษี ภาษีป้ายร้านค้าเสียกี่บาท 

ป้ายโฆษณาเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเปิดธรุกิจที่มีหน้าร้าน เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้ามองเห็นแบรนด์ และเปิดโอกาสให้ลูกค้าสนใจที่จะเข้าร้านของเรา แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าการทำป้ายก็มีสิ่งที่เรียกว่าต้นทุนแฝง นั่นคือ การเสียภาษีป้ายประจำปี 

โดยอัตราค่าธรรมเนียมในการเสียภาษีป้ายต่อปี มีดังนี้ 

🔖ป้ายธรรมดา (บาท/ต่อ 500 ตร.ซม.)

- 5 บาท ป้ายอักษรไทยล้วน 
- 26 บาท ป้ายอักษรไทยผสมภาษาต่างประเทศ ปะปนรูปภาพ หรือปนเครื่องหมายอื่น ฃ
- 50 บาท  ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพ หรือเครื่องหมายใด หรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

🔖ป้ายเคลื่อนที่ (บาท/ต่อ 500 ตร.ซม.)

- 10 บาท ป้ายอักษรไทย
- 52 บาท ป้ายอักษรไทยผสมภาษาต่างประเทศ ปะปนรูปภาพ หรือปนเครื่องหมายอื่น 
- 52 บาท  ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพ หรือเครื่องหมายใด หรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ 

🧮การคำนวณภาษีป้าย 

หาขนาดป้าย (เซนติเมตร) : กว้าง x ยาว = พื้นที่ป้าย (ตร.ซม.)
หาพื้นที่ป้าย (ตร.ซม) ÷ 500 = ฐานภาษี



4. ต้นทุนแรงงาน 

ต้นทุนค่าแรงงานพนักงาน ถือเป็นเรื่องที่ต้องคำนวณให้เหมาะสมกับสเกลของร้าน หากร้านของเราไม่ใหญ่มาก ก็อาจจะต้องบริหารต้นทุนพนักงาน ให้ไม่เกิน 10% ของยอดขาย 



5. ต้นทุนค่าเช่า

ต้นทุนค่าเช่าเป็น Fixed Cost ที่หลาย ๆ ร้านต้องจ่าย แต่ก็มีอีกกรณี เช่น ร้านค้าเปิดใหม่ อาจจะตกลงจ่ายค่าเช่ารายเดือนเป็นแบบปรับตามสัดส่วนยอดขาย หรือ GP ซึ่งก็จะทำให้ต้นทุนค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้นไม่เท่ากัน 



6 .ต้นทุนแฝงอื่น ๆ 

เป็นต้นทุนที่แปรผันไปตามยอดขาย เช่น ค่าน้ำมันในการใช้จ่ายซื้อของที่เร่งด่วน ค่าแพกเกจจิงต่าง หรือของใช้ภายในร้าน รวมไปถึง ค่าใช้จ่ายค่าน้ำ และค่าไฟในแต่ละเดือนที่แปรผันไปตามปริมาณการใช้จริง 



การบริหารต้นทุนร้านหม่าล่าถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะต้นทุนของหม่าล่านั้นสูงกว่าชาบูทั่วไป นอกจากต้นทุนหลักที่จะต้องจ่ายทุกๆ เดือนแล้วยังมีต้นทุนแฝงที่ตามมาในแต่ละเดือนอีกด้วย  ดังนั้นหากอยากเปิดร้านหม่าล่าให้ได้กำไร ก็ต้องจัดสรร บริหารต้นทุนและการจัดซื้อให้ดี 

729 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม