วิเคราะห์จุดปิดกิจการ
พบกันในคอลัมน์ ที่ 2 ต่อจาก Five Forces (5 Forces) ที่เขียนเรื่องแรงกดดันแรก Bargaining Power of Customers ภายใต้ คำว่า “Understanding Marketing Management" การบริหารจัดการตลาดในยุคปัจจุบัน ที่ควรต้องเรียนรู้ พฤติกรรมของลูกค้า หรือผู้บริโภคของเราให้ตรงตลาดยุคตามสมัย ในบทความนี้ แค่อยากจะเอาเรื่องของ JSL มาเป็นกรณีศึกษากันหน่อย แต่คงไม่ไปลงรายละเอียดของปัญหา แต่จะชวนคิดและชวนวิเคราะห์กันตามหลักของ "Defining Marketing for the New Reality"
อย่างที่ข่าวบอกปัญหาที่ JSL ที่ถึงจุดปิดกิจการแบบที่ พนักงานไม่ทันตั้งตัว บทความนี้จะชี้จุดสำคัญ 2 ประเด็น
- องค์กร
- พนักงาน
ไม่มีใครอยากเลิกจ้างพนักงาน และไม่มีใครอยากออกจากองค์กรที่คิดว่ามั่นคงนะครับ แต่เพราะอะไรทำไม เรือลำนี้ถึงไปไม่ถึงฝั่งฝัน และล่มลงแบบที่พนักงานไม่ได้เตรียมตัวออกจากเรือ ขอไม่ไปก้าวล่วงของเขา แต่เรามาคุยกันในประเด็นของการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ หรือ Stakeholder Relationship Management
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) บุคคล หรือ องค์กร ที่ได้รับผลกระทบจากการพฤติกรรมผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อกิจการของ JSL และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อยู่ภายในองค์กรและที่อยู่ภายนอกองค์กร จากเหตุการนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกิจการกับพนักงานที่ทำงานร่วมกันมานานเ ต่างคนต่างได้รับผลกระทบทั้งสิ้นและเกิดความขัดแย้ง ไม่พอใจกันและกันตามข่าวที่นำเสนอ จึงอยากให้เห็นถึงความผิดพลาดในการบริหารในกรณีนี้ชัดเจน
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะทำให้การบริหารงานขององค์การมีความราบรื่น และประสบผลสำเร็จ การบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน จะได้ไม่มาโทษกันและกัน
การจัดการที่ดีมีความสำคัญ ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมากกว่ายุคอดีต มีอะไรกันบ้าง
- พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไป ปัจจุบันความรู้หาได้ง่ายขึ้น องค์กรต้องให้ความสำคัญในการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ CRM Customer Relationship Management
- Innovation นวัตกรรม – การสร้างความแตกต่างทางกลยุทธ์
- Technology – เทคโนโลยี่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้องค์การต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม
- Increased Emphasis on Organizational and Managerial Ethics เรื่องจริยธรรมของธุรกิจและของผู้บริหาร ที่ต้องจริงใจ ไม่เน้นสร้างแต่ภาพเท่านั้น เพราะกระแสสังคมมันแรงมากการเข้าถึงข้อมูลเร็วและไวมาก ๆ การจัดการเป็นสิ่งจำเป็นในทุก ๆ ธุรกิจ และทุกขนาดขององค์กรที่จะแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัตน์
ย้อนกลับไปที่ก่อนจะถึงจุดปิดกิจการของ JSL ต้องย้อนกลับไปดูจุดรุ่งเรืองสุด ๆ ของ JSL คือ อะไร? รายการ Talk Show อย่างรายการ เจาะใจ ที่อยู่กันมายาวนานถึงปัจจุบัน เจาะกลุ่มคนรุ่นไหนในยุคปัจจุบัน ก็คงเป็นคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งรูปแบบ หรือ Content ของรายการ แบบเดิม ๆ คือ การพูดคุยระหว่างพิธีสัมภาษณ์แขกรับเชิญ
คู่แข่งรายการเจาะใจ เท่าที่จำได้ก็ คือ ตีสิบของคุณวิทวัส รายการของคุณต๋อย ไตรภพ ในรายการ ทไวไลท์ โชว์ ก็จะคล้าย ๆ กัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยุคใหม่ก็คงไม่น่าติดตามชม เหมือนรุ่นเราที่ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก ซึ่งก็ตรงกับที่ได้เกริ่น ๆ ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 หัวข้อ ทุกประการตามหลักของการบริหารจัดการและบทความนี้ ขอทิ้งท้ายกับ 4 ด้านในการบริหารจัดการที่สำคัญ ๆ
การจัดการองค์การ เราจะมาศึกษาหน้าที่หลักของการจัดการ 4 ด้านด้วยกัน ดังนี้
- Planning คือ การกำหนดเป้าหมาย ซึ่งในการวางแผนอาจจะเริ่มต้นจากยอดขายที่ต้องการก่อน ซึ่งดูจากยอดขายย้อนหลัง 3 ถึง 5 ปี และประเด็นที่สำคัญก็ คือ กำไรของแต่ละปี ขาดทุนหรือกำไร เพื่อที่จะได้วางแผนวางกลยุทธ์ ให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปีปัจจุบัน และค่อยๆปรับแผนให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
- Organizing การจัดองค์การ โดยแบ่งออกเป็นแผนกและกำหนด บทบาทหน้าที่ของพนักงานในแต่ละแผนก
- Leading ผู้นำ การสร้างแรงจูงใจและภาวะผู้นำ ของแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกจะได้บริหารให้ได้ผลลัพธ์ของแผนก
- Control การควบคุม การประเมินผลการดำเนินการและควมคุม เพื่อให้บรรลุตามแผนที่กำหนดไว้
ซึ่งตัวผู้เขียนเองที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการ ก็ใช้ 4 ด้านนี้ในการทำงานเช่นกัน
1,981 คน
©2024 TaokaeCafe.com