เลือกซัพดี มีชัยไปกว่าครึ่ง 4 เทคนิคทีใช้เลือกซัพพลายเออร์ สำหรับร้านอาหาร

9 มิ.ย. 2565 11:19:52
เลือกซัพดี มีชัยไปกว่าครึ่ง 4 เทคนิคทีใช้เลือกซัพพลายเออร์ สำหรับร้านอาหาร

ธุรกิจร้านอาหารถือเป็นธุรกิจอันดับต้น ๆ ที่ค่อนข้างขายดีและมีกำไรอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าร้านอาหารจะมีมากมายแค่ไหนก็ตาม ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอาหารคือ ปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทำให้ไม่ว่าร้านอาหารจะไปเปิดอยู่ที่ไหน ก็ย่อมมีคนเข้าไปใช้บริการแน่นอน
 
แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกร้านจะขายดี มีกำไรเหมือนกันหมด มันมีอีกหลากหลายปัจจัยนอกเหนือจาก “อาหารเป็นสิ่งที่ใช้ในการดำรงชีวิต”  เพราะในปัจจุบันอาหารขยับเข้าไปอยู่ในหมวดความบันเทิงเรียบร้อยแล้ว คนในยุคนี้คนไม่กินอาหารเพื่อความอยู่รอดอีกต่อไป แต่กินเพื่อความสนุกสนาน รสชาติของมัน ความแปลกใหม่ ความอยากรู้อยากเห็นต่าง ๆ ของคน ทำให้ร้านอาหารธรรมดา ๆ ทั่วไปอาจจะอยู่ได้ยาก ถ้าหากไม่อร่อยจริง
 
วนกลับมาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่า กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำธุรกิจอาหารให้อยู่ในจุดที่สามารถอยู่รอดได้ก็พอ ไม่ต้องถึงขั้นมีกำไรมากมาย แต่หากทำสิ่งต่าง ๆได้ครบถ้วนก็อาจจะช่วยเรื่องกำไรของร้านได้เลย หนึ่งในปัจจัยที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ นอกเหนือจากเรื่องรสชาติ ความน่าสนใจ ราคา หรืออื่น ๆ อีกเยอะแยะเต็มไปหมด ก็คือเรื่อง “ซัพพลายเออร์”
 
ซัพพลายเออร์ คือ หนึ่งในปัจจัยที่เป็นหัวใจหลักของการเปิดร้านอาหาร เพราะเราจะไม่มีวัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพได้เลย หากขาดซัพที่รู้ใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคา คุณภาพ วันนี้ผมจะมาแนะนำ 4 เทคนิคการเลือกซัพให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อร้านอาหารของคุณ
 
เริ่มกันที่ข้อที่หนึ่ง   1.ชื่อเสียงของซัพพลายเออร์ หากเราเป็นร้านอาหารที่พึ่งเปิดใหม่ ๆ ยังไม่รู้จักซัพมากมายเท่าไหร่นัก การเลือกซัพถือเป็นเรื่องที่ยากไม่น้อย แต่วิธีที่ง่ายที่สุดในการเลือก คือเลือกจากชื่อเสียงของตัวซัพพลายเออร์ ดูจากที่มีคนใช้เยอะ จนถึงขนาดที่เราแทบไม่ได้อยู่ในวงการอาหารก็ยังสามารถเคยได้ยินชื่อของซัพพลายเออร์เจ้าดังกล่าว ซึ่งการเลือกซัพแบบนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของคุณภาพลงไปได้ แต่อาจจะต้องแรกมาด้วยราคาที่สูงกว่า แต่หากอยู่ในวงการอาหารมานานก็อาจจะมีตัวเลือกอื่นที่เข้าตากว่าก็เป็นได้

2. ระยะเวลาการให้สินเชื่อ การให้สินเชื่อระหว่างซัพพลายเออร์กับร้านอาหารถือเป็นเรื่องที่จะช่วยให้การหมุนเวียนของเงินในร้านเราทำได้คล่องตัวมากขึ้น ในระยะแรกหากเราเป็นร้านอาหารหน้าใหม่ และพึ่งเคยสั่งซื้อวัตถุดิบจากซัพใด ๆ ก็ตาม ทางซัพพลายเออร์คงไม่กล้าให้สินเชื่อเราแน่ ๆ จนกว่าเราอยู่ในจุดที่สั่งเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอเมื่อไหร่ เมื่อทางซัพไว้ใจเราก็อาจจะได้สินเชื่อ ซึ่งการได้สินเชื่อคือ การที่เราสามารถสั่งของมากี่รอบก็ได้ และค่อยรวบบิลจ่ายที่เดียวในตอนสิ้นเดือน ลดภาระที่เราต้องจ่ายเงินในซัพทุกครั้งที่มาส่งได้ เจ้าตัวสินเชื่อก็อยู่ที่ทางซัพด้วยว่าจะสามารถปล่อยให้เราได้ในระยะเวลาเท่าไหร่ หรือยอดเท่าไหร่ที่เราสามารถสินเชื่อได้
 
3. ยอดสั่งขั้นต่ำ เวลาเราจะสั่งวัตถุดิบจากซัพ เราต้องดูให้ดีว่าเราสามารถสั่งขั้นต่ำได้ในจำนวนเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าเรทราคาส่ง ส่งผลต่อจำนวนในการสั่งก็ตาม แต่หากเราสั่งมาเยอะเพื่อที่จะได้ราคาต่อชิ้นถูกลง แต่อาจไม่ดีในระยะยาว หากวัตถุดิบเกิดเสียก่อนจะใช้หมด นั้นจะส่งผลเสียมากกว่า ดังนั้นเราควนเช็คปริมาณของวัตถุดิบต่อยอดขายของเราให้ดี และเลือกซัพที่สามารถส่งขั้นต่ำได้เท่ากับที่เราต้องการ
 
4. รอบส่งวัตถุดิบ ในแต่ละซัพก็จะมีรอบการจัดส่งที่แตกต่างกันออกไป เราจะกังวลว่าบางซัพอาจส่งช้าเลยต้องสั่งมาแต่ละทีในจำนวนที่มาก ซึ่งนั้นก็อาจจะส่งผลเสียกับตัวอาหารที่เราทำ เพราะวัตถุดิบที่ใช้อาจจะไม่สดเสมอไป ดังนั้นเราควรเลือกซัพที่มีรอบการส่งลงตัวกับร้านของเราให้ได้มากที่สุด

 
ครบถ้วนกันไปแล้วกับ 4 เทคนิคการเลือกซัพพลายเออร์สำหรับร้านอาหาร ใครที่กำลังมีแผนจะเปิดร้านอาหาร หรือกำลังเปิดอยู่ในปัจจุบัน ก็สามารถนำเทคนิคดังกล่าวไปปรับใช้ให้เข้ากับร้านมากที่สุดได้เลย

ส่วนสำหรับวันนี้ต้องขอตัวลาไปก่อน ผมกันใหม่ครั้งหน้า ขอบคุณ และ สวัสดีครับ
 

1,513 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม